จากไซง่อนถึงคาบูล ส่องวิกฤตทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เมื่อประชาชนหนีตายจากรัฐบาลที่พวกเขาไม่ต้องการ
การหนีตาย ถือว่าเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น ภายหลังจากที่ประเทศใดประเทศหนึ่งเกิดปัญหาอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติ หรือการรัฐประหาร ที่นำไปสู่สงครามกลางเมือง ทำให้การใช้ชีวิตของผู้คนจำนวนมากต่างต้องประสบกับปัญหาที่หนักหน่วง โดยเฉพาะในการใช้ชีวิตประจำวัน จะต้องพบกับความลำบาก ซึ่งในบางครั้ง ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นในทันที เป็นเพียงแต่คาดการณ์ถึงความเลวร้ายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถคาดคะเนได้ง่ายจากความรุนแรงก่อนหน้านั้นแล้ว และพอเหตุการณ์ที่น่ากลัวได้เกิดขึ้นจริง ก็ย่อมส่งผลทำให้ประชาชนเริ่มหนีตายในทันที
สำหรับตัวอย่างของการหนีตายที่เราสามารถเห็นได้ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของโลกใบนี้ ในระยะไม่เกิน 100 ปีเลยด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นการยึดกรุงไซ่ง่อน ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1975 ซึ่งได้กลายเป็นหนึ่งในเหตุการณ์หนีตายครั้งใหญ่ที่โลกไม่ลืม จากเหตุการณ์บุกรุกของกองทัพเวียดนามเหนือและเวียดกง ที่ส่งผลทำให้ประชาชนชาวเวียดนามใต้ต่างพากันหนีตายในทันที โดยเหตุการณ์เหล่านี้ได้สร้างความสะพรึงให้กับชาวโลกอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศหนีตายแบบจ้าละหวั่น หรือแม้แต่ภาพของผู้คนที่กำลังไต่บันไดลิงเพื่อขึ้นเฮลิคอปเตอร์อย่างอัดแน่น
ซึ่งความน่ากลัวเหล่านี้ได้ประจักษ์ให้ชาวโลกได้เห็นถึงความโหดร้ายแบบคาดไม่ถึง และความน่ากลัวเหล่านี้ก็ยังมีปรากฏให้เราได้เห็นกันหลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นวินาทีที่พนมเปญแตก ในตอนที่เขมรแดงสามารถบุกเข้ามาได้ หรือจะเป็นเหตุการณ์ที่ชาวอิรักและซีเรียต้องหนีตาย ภายหลังจากการบุกรุกของ IS ไปจนถึงเหตุการณ์คาบูลแตก ในตอนที่ตาลีบันซึ่งเคยปกครองอัฟกานิสถานสามารถกลับเข้ามาได้อีกครั้ง
สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการหนีตายนี้นั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ลี้ภัยในทันที ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองในแผ่นดินใหม่ ที่มีเพียงงานที่กฎหมายกำหนดเท่านั้นที่ทำได้ ไปจนถึงการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยสิ่งเหล่านี้คือผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตัวผู้ลี้ภัยเอง แต่สำหรับประเทศที่พวกเขาได้จากมานั้น ย่อมมีผลกระทบในระยะแรกอย่างแน่นอน
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชนจากภัยสงครามที่เกิดขึ้น ที่อาจทำให้ประเทศนั้นต้องสูญเสียฐานเศรษฐกิจสำคัญ ไปจนถึงอาจจะถูกคว่ำบาตรในทันที อย่างที่ อัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของรัฐบาลตาลีบัน ที่เศรษฐกิจหดตัวไปถึง 20-30% ในทันที ตั้งแต่ที่มีการยึดครองมา ซึ่งจะส่งผลทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจได้ช้า รวมไปถึงภาพลักษณ์ที่เสียหายมาอย่างยาวนาน ก็ยิ่งส่งผลต่อการปกครองอย่างยิ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับเวียดนามในช่วงหนึ่ง หากเศรษฐกิจไม่แย่มากนัก และรัฐบาลเวียดนามยังเริ่มตระหนักถึงการพัฒนาเศรษฐกิจในภายหลังอีกด้วย
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE
อ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. Fall of Saigon. https://en.wikipedia.org/wiki/Fall_of_Saigon
Carnegie Endowment for International Peace. The Economic Impact of Forced Migration. https://carnegieendowment.org/2016/04/22/economic-impact-of-forced-migration-pub-63421
International Organization for Migration. THE FALSE DICHOTOMY BETWEEN ‘ECONOMIC MIGRANTS’ AND REFUGEES. https://weblog.iom.int/false-dichotomy-between-economic-migrants-and-refugees
The United States Institute of Peace. One Year Later, Taliban Unable to Reverse Afghanistan’s Economic Decline. https://www.usip.org/publications/2022/08/one-year-later-taliban-unable-reverse-afghanistans-economic-decline
VOA. Afghan Economic Crisis Worsens as Taliban Mark Anniversary.
https://www.voanews.com/a/afghan-economic-crisis-worsens-as-taliban-mark-anniversary/6700325.html
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :