ในวันที่โลกเป็นเสรีมากขึ้น หากแต่ทำไมช่องว่างระหว่างเพศจึงยังกว้างในทางเศรษฐกิจ
สภาพแวดล้อมของสังคมในปัจจุบัน เราสามารถเห็นได้ชัดว่า บรรยากาศของเสรีภาพล้วนกระจายไปอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของโลก เพื่อที่จะทำให้ประชาชนได้รับสิทธิต่าง ๆ นั้นอย่างเต็มที่ และได้ใช้มันเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้อย่างง่ายดาย
แต่ถึงกระนั้น บางประเด็นปัญหาบางอย่าง ที่ปรากฏขึ้นภายในโลกปัจจุบัน ก็ยังคงพบเจอกันได้อยู่เสมอ แม้เวลาจะผ่านไปนานเท่าใด แต่ปัญหาเหล่านี้ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องค่อย ๆ แก้ปัญหาไปในแต่ละขั้น และหนึ่งในนั้นก็คือ ช่องว่างระหว่างเพศ ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน แม้กระทั่งโลกในยุคปัจจุบัน
สำหรับช่องว่างระหว่างเพศนั้น ถือว่าเป็นปัญหาที่ถูกตั้งคำถามมาอย่างยาวนาน โดยส่วนใหญ่แล้ว จะมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ชาติพันธุ์ หรือแม้แต่ภาระหน้าที่การงาน ที่ส่งผลทำให้ช่องว่างระหว่างเพศเริ่มเด่นชัดมากกว่าเดิม
ซึ่งแต่เดิมนั้น การจัดสรรงานระหว่างเพศชายและหญิงนั้น จะมีการแบ่งสภาพตามความเหมาะสมกับร่างกายเป็นหลัก อันเป็นธรรมดาของโลกในสมัยก่อน ที่มีค่านิยมที่เคร่งคัดกว่ายุคนี้ แต่สำหรับในยุคที่ความเสรีเริ่มมีมากขึ้น งานบางอย่างจึงได้เริ่มถูกตั้งคำถามจากผู้คน ถึงการเปิดโอกาสให้เพศต่าง ๆ ได้มีเข้ามาทำงานบ้าง
อย่างเช่นกรณีของอาชีพนักบิน ที่ส่วนใหญ่แล้ว จะเปิดโอกาสให้กับเพศชายเป็นหลัก หรือหากเป็นงานที่ทั้งสองเพศสามารถทำงานได้ ก็ต้องมาพบเจอกับรายได้ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสำหรับฝ่ายหญิง ที่จะได้รับมอบหมายงานและรายได้ที่ต่างออกไปจากเพศชาย และถ้าหากมีครอบครัวด้วยแล้ว จะทำให้เพศหญิงมักจะถูกมองว่าต้องจัดสรรเวลาระหว่างงานเพื่อแบ่งให้กับครอบครัวอีกด้วย นั่นจึงยิ่งทำให้เพศหญิงมักจะได้รับรายได้เฉลี่ยไม่เท่าเพศชาย
และนอกจากนี้ ยังรวมไปถึงปัญหาของรายได้ของกลุ่ม LGBTQ+ ที่มักจะเห็นการเลือกปฏิบัติที่แตกต่างกัน จนกล่าวกันว่า ทั่วโลกอาจจะต้องใช้เวลา 132 ปี โลกจึงจะมีการสร้างความเท่าเทียมทางเพศได้
แต่ถึงจะมีปัญหามากแค่ไหน ก็ยังมีนิมิตหมายอันดีที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศที่มากยิ่งขึ้น โดยสิ่งดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จากการปิดช่องว่างทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสในอาชีพให้กับเพศที่ยังไม่เคยได้เข้ามามีส่วนร่วมมากนัก ไปจนถึงการกำหนดสัดส่วนรายได้ เพื่อที่จะทำให้บรรยากาศของความเท่าเทียมทางเพศในการทำงานมีมากกว่าเดิม รวมไปถึงการพัฒนาในส่วนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา สุขภาพ และวิถีชีวิตให้ลงตัวกันในทุกภาคส่วน
โดยที่เราจะเห็นสัดส่วนของความเท่าเทียมเหล่านี้ที่สูงมากยิ่งขึ้นผ่านทาง Global Gender Gap Report โดยประเทศที่ยังคงครองแชมป์ในการลดช่องว่างระหว่างเพศได้ดีที่สุด คือ ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศแถบสแกนดิเนเวียทั่วไป
และแน่นอนว่า การสร้างความเท่าเทียมทางเพศนี้ ไม่ได้หมายถึงการให้สิทธิ์แก่เพศใดเพศหนึ่งจนเกินงาม หากแต่เป็นการสร้างความเท่าเทียมและเสมอภาคต่อผู้คนทุกสายและทุกฝ่ายอย่างเต็มที่
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE
อ้างอิง
Praewpan Sirilurt. Global Gender Gap Report 2023 ชี้อีก 131 ปี กว่าโลกจะมีความเท่าเทียมทางเพศ – ส่วนไทยติดอันดับที่ 74 ในการประเมินดัชนี. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://www.sdgmove.com/2023/06/27/global-gender-gap-report-2023
ThaiPublica. WEF เปิดรายงาน Global Gender Gap ปี 2022 ช่องว่างทางเพศแคบลง แต่อีก 132 ปีถึงจะมีความเท่าเทียม. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://thaipublica.org/2022/07/wef-global-gender-gap-2022
โตมร ศุขปรีชา. Sexuality Pay Gap : ช่องว่างระหว่างเพศ. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://www.the101.world/sexuality-pay-gap
ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ. ดัชนีโลกว่าด้วยช่องว่างระหว่างเพศ ปี 2022 โดย WEF ไทยอยู่ตรงไหนในประชาคมโลก. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://thestandard.co/global-gender-gap-report-2022
วิทย์ บุญ. เปิดปัญหา ‘ช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ’ ในวงการกีฬาอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2567. จาก https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/102933
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :