สังคมศาสตร์

เหตุใดการช่วยเหลือซีเรียหลังแผ่นดินไหวจึงเป็นเรื่องยาก

เหตุใดการช่วยเหลือซีเรียหลังแผ่นดินไหวจึงเป็นเรื่องยาก

เหตุใดการช่วยเหลือซีเรียหลังแผ่นดินไหวจึงเป็นเรื่องยาก

 

แผ่นดินไหวในตุรกี (ทูร์เคีย) และซีเรียเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ความเสียหายเกิดขึ้นมหาศาลในพื้นที่ทั้งสองประเทศ ผู้คนนับ 40,642 รายเสียชีวิตที่ตุรกี ในขณะที่ซีเรียสูญเสียผู้คนนับ 5,800 ราย [1] การเปิดรับบริจาคเกิดขึ้นทั่วโลก ผู้คนพยายามให้ความช่วยเหลือเหล่าผู้ประสบภัย องค์การสหประชาชาติ (UN) วางแผนที่จะให้ความช่วยเหลือตุรกีด้วยเงินจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และให้ความช่วยเหลือซีเรียด้วยเงินจำนวนเกือบ 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [2] อย่างไรก็ตาม การให้ความช่วยเหลือซีเรียไม่ได้ทำได้ง่ายดายเสมอไป [3]

 

การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในซีเรียเป็นไปด้วยความยากลำบาก พื้นที่ทางแถบตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรียซึ่งเป็นท้องที่ที่เกิดแผ่นดินไหวได้รับการสำรวจเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น พื้นที่อีกร้อยละ 95 ยังคงตกสำรวจ เนื่องจากทีมให้การช่วยเหลือไม่สามารถเดินทางเข้าพื้นที่ได้ ตรงกันข้ามกับตุรกีที่ความช่วยเหลือมาถึงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เหตุผลที่ความช่วยเหลือจากนานาชาติเข้าถึงซีเรียได้ยากลำบาก เนื่องมาจากความขัดแย้งและสงครามภายในซีเรีย และการแทรกแซงจากนานาประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน

 

ก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหว ซีเรียประสบปัญหาจากสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมานับ 10 ปี สงครามที่เกิดขึ้นทำลายล้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการในซีเรียลงทีละน้อย ซีเรียอยู่ในสถานะที่แทบจะไม่มีเครื่องมือช่วยชีวิต อุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงเชื้อเพลิงและพลังงานที่สำคัญ  ความหวังเดียวในการช่วยเหลือบรรดาผู้ประสบภัยทั้งหลายจึงเป็นการพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติ แต่องค์กรต่างประเทศก็ทำให้ซีเรียต้องผิดหวัง

 

เป็นที่รู้กันดีว่าสหรัฐอเมริกาและประเทศแถบยุโรปจึงดำเนินนโยบายคว่ำบาตรซีเรียมาเนิ่นนาน โดยสหรัฐอเมริกาเริ่มคว่ำบาตรซีเรียตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 การคว่ำบาตรดังกล่าวส่งผลให้ซีเรียถูกชาติมหาอำนาจหลงลืม ดังนั้น ถึงแม้สหรัฐอเมริกาจะออกมาประกาศงดคว่ำบาตรซีเรียหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเป็นเวลา 180 วัน แต่การประกาศดังกล่าวก็ไม่อาจทำให้ความช่วยเหลือเข้าถึงซีเรียได้ทันที และแม้ว่าจะมีองค์กรช่วยเหลือในระดับนานาชาติอย่างสภาผู้ลี้ภัยแห่งนอร์เวย์ (NRC) ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และดำเนินการใน 40 ประเทศ แต่การดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในซีเรียก็ยังคงล่าช้า

 

ซีเรียได้รับความช่วยเหลือจากรัสเซียและอิหร่านด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยในซีเรียไม่ได้มีเพียงแค่การช่วยชีวิตคนออกจากซากปรักหักพัง แต่ยังหมายรวมถึงการเยียวยาความเสียหายทั้งทางร่างกายและจิตใจ และความเป็นอยู่ของผู้คนหลังจากนั้น แม้ความขัดแย้งในสงครามจะทำให้ผู้คนอยู่ตรงข้ามกันและมีสถานะเป็นศัตรู แต่ในสถานการณ์เช่นนี้ มนุษยธรรมควรอยู่เหนือความต้องการเอาชนะหรือการต่อสู้เพื่ออำนาจอื่นใด ในที่นี้ ลงทุนศาสตร์ขอแสดงความเสียใจต่อผู้ประสบภัยในเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ทุกท่าน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามนุษย์ทุกผู้ทุกคนจะได้รับความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกัน

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

อ้างอิง
[1] Kevin Doyle, Usaid Siddiqui, Linah Alsaafin and Dalia Hatuqa. (February 18, 2023). Turkey-Syria updates: Death toll surpasses 46,000. Retrieved from https://www.aljazeera.com/news/liveblog/2023/2/18/turkey-syria-updates-death-toll-from-earthquakes-passes-45000
[2] UN News. (February 16, 2023). UN launches $1 billion appeal to scale-up aid operations in Türkiye. Retrieved from https://news.un.org/en/story/2023/02/1133572
[3] Aina J. Khan and Charlene Gubash. (February 16, 2023). Why has it been so hard to get aid to Syria after the earthquake?. Retrieved from https://www.nbcnews.com/news/world/aid-syria-earthquake-relief-difficulties-rcna70543
Photo Credit: South China Morning Post

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน