ทัศนคติ

ลงทุนแล้ว burn out เอาอย่างไรต่อดี

ลงทุนแล้ว burn out เอาอย่างไรต่อดี

ลงทุนแล้ว burn out เอาอย่างไรต่อดี

 

การลงทุนกับการทำงานมีความคล้ายคลึงกันตรงที่ว่า เราทุกคนคาดหวังผลลัพธ์ที่ดีเสมอ เนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ทั้งโรคระบาด สงครามความขัดแย้ง การเมืองในประเทศ เหล่านี้ก็ทำไปสู่สภาวะหมดไฟทั้งในการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ และการทำงานเพื่อสร้างรายได้เช่นกัน

 

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) ระบุว่า“ผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพฯ จำนวน 12% อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ ‘ภาวะ Burnout Syndrome’ เบิร์นเอาท์ ซินโดรม และมีจำนวนมากถึง 57% อยู่ในภาวะมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ” ใครหลายคนที่ได้ยินรายงานผลวิจัยการตลาดในหัวข้อ “การตลาดเติมพลัง “BURNOUT IN THE CITY”

 

ทีมนักวิจัยจากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ในภาวะหมดไฟ เสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ และผู้ที่มีพลังใจในการทำงานสูง ว่ากลุ่มผู้บริโภควัยทำงานเหล่านี้ทำกิจกรรมอะไร เพื่อคลายความเครียดที่กำลังเผชิญ หรือเพิ่มพลังใจที่หดหายให้กลับมาสามารถสู้กับสถานการณ์ที่เจอได้ และกลับมาใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข

 

จากการสำรวจผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ช่วงปลายปี 2562 จำนวน 1,280 คน โดยเป็นผู้หญิง 66% ผู้ชาย 34% พบว่า

1. 12% อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน 57% อยู่ในภาวะมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ และมีจำนวนเพียง 31% เท่านั้นที่อยู่ในภาวะไฟแรง

2. เมื่อคิดเป็นสัดส่วนของประชากรในกรุงเทพมหานคร มากกว่า 3.7 ล้านคน* อยู่ในภาวะเครียดจนน่าเป็นห่วง (*จำนวนประชากรวัยทำงานในกรุงเทพจำนวน 5.3 ล้านคน)

3. ช่วงอายุที่น้อยลงกลับมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟได้มากกว่า อย่างกลุ่ม Gen Z หรือช่วงอายุต่ำว่า 22 ปี กำลังตกอยู่ในภาวะหมดไฟมากที่สุดถึง 17% ขณะที่กลุ่ม Gen Y หรือช่วงอายุ 23 – 38 ปี ก็ตกอยู่ในสภาวะใกล้เคียงกันที่ 13% แต่กลับกันในกลุ่ม Baby boomer หรือช่วงอายุ อายุ 55 – 73 ปี กลับอยู่ในภาวะหมดไฟเพียง 7%

4. เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์เรื่องกลุ่มอาชีพ พบว่า พนักงานรัฐวิสาหกิจคือกลุ่มที่อยู่ในภาวะหมดไฟ และกำลังเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟมากเป็นอันดับแรกที่ 77% รองลงมาคือ พนักงานเอกชน 73% และข้าราชการที่ 58% และธุรกิจส่วนตัว 48%

 

วิธีการเติมไฟให้ชีวิตมีหรือเปล่า?

เมื่อไฟหมดจากการทำงาน การลองเติมไฟก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย มีหลากหลายวิธีในการเติมไฟให้ชีวิตและการทำงาน ที่สามารถช่วยขจัดความเครียด คลายความวิตก และได้พักผ่อนหย่อนกายกับชีวิตการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น

1. พักเรื่องงานและทำในสิ่งที่ชอบ เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง กินอาหารอร่อย ถือเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด การให้เวลาตัวเองกับสิ่งที่ชอบสามารถช่วยเยียวยาจิตใจ ช่วยให้ใจเราพักจากเรื่องงานได้เป็นอย่างดี
2. สภาพแวดล้อมคือสิ่งสำคัญ การได้เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนบรรยากาศ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเติมไฟ เช่น อาจใช้เวลาในช่วงสุดสัปดาห์เพื่อหลีกหนีชีวิตเดิม ๆ ไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด พบปะผู้คนที่ไม่คุ้นเคย หรือหากไม่สะดวกจริง ๆ ช่วง Work From Home แบบนี้ อาจใช้วิธีเปลี่ยนสถานที่ทำงาน เพื่อจุดประกายความคิดที่แตกต่างจากเดิม
3. หากิจกรรมที่ไม่เคยทำ เพื่อเป็นการผ่อนคลายและช่วยให้ค้นพบความชอบของตัวเองได้อีกด้วย เช่น ปีนเขา ปั้นดิน หรือจัดดอกไม้ ซึ่งทักษะที่ได้จากกิจกรรมเหล่านี้อาจนำไปต่อยอดเป็นรายได้เสริมอีกด้วย
4. การเพิ่มทักษะ พัฒนาชีวิต หาจุดแข็ง จุดอ่อนของตัวเอง และไปเติมเต็มประสบการณ์ชีวิตใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนภาษา, เสริมความรู้ทางธุรกิจ หรือลงคอร์สเรียนในสิ่งที่ชอบ ได้ทั้งสังคมใหม่ ๆ การฝึกทักษะทางอารมณ์ ทักษะใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ และนำไปสู่การเริ่มต้นใหม่ ๆ

 

การ burn out ที่เกิดขึ้นกับคนที่พยายามหารายได้เข้าตัว เพื่อการใช้ชีวิต เพื่อสร้างคุณภาพชีวิต ในโลกปัจจุบันนั้นไม่ง่ายเลย เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องสังเกตตัวเองและคนรอบตัวว่าใครกำลังเผชิญกับสภาวะนี้บ้าง เพื่อแนะนำ ให้ความช่วยเหลือ หรือหาทางบรรเทาความรู้สึกหมดไฟนี้ เพราะแน่นอนว่าภาวะ burn out อาจทำให้ความพยายามในการลงทุนหารายได้ลดลง ซึ่งนำไปสู่สภาวะอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เมื่อได้รายได้ลดลงอีก

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
[1] SALIKA, เปิดผลวิจัยการตลาด หยุดภาวะ burn out syndrome ปลุกชีวิต คืนชีวิต ให้สังคมเมือง, อ้างอิงจาก https://www.salika.co/2020/01/16/howto-fight-burnout-syndrome/
[2] มิติหุ้น, BURNOUT SYNDROME อย่ารอให้หมดไฟ กระตุกต่อมรักงาน ที่engagement อย่างเดียวไม่พอ ต้องเติมไฟด้วย work passion
[3] The Momentum, ภาวะหมดไฟในที่ทำงานไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เมื่อคนกรุงเทพกว่า 69% มีภาวะ burn out

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน