ทัศนคติ

โลกซึมเศร้าและปัจจัยที่ก่อให้เกิด

โลกซึมเศร้าและปัจจัยที่ก่อให้เกิด

โลกซึมเศร้าและปัจจัยที่ก่อให้เกิด

 

โรคซึมเศร้าเป็นคำที่ฟังดูหนาหูขึ้นทุกวัน เราได้ยินคำนี้บ่อยขึ้น เห็นคนป่วยเป็นโรคนี้มากขึ้น ปัจจัยที่ทำให้โรคซึมเศร้ากลายมาเป็นสิ่งที่หันไปทางไหนก็เจอ ประกอบด้วยสามปัจจัย คือ โควิด19 ปัญหาเชิงโครงสร้าง และการที่คนยอมรับและเข้าใจโรคมากขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยกล้าขอความช่วยเหลือมากขึ้น

 

โรคซึมเศร้ากลายมาเป็นปัญหาทางสุขภาวะจิตที่แสดงออกมาเป็นความโศกเศร้าและอารมณ์ที่ซึมเศร้า ไม่ค่อยสนใจในกิจกรรมประจำวันเท่าเดิม และส่งผลอย่างตรงไปตรงมาต่อชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะวินิจฉัยโรค อาการที่เกิดต้องเกิดขึ้นติดต่อกันตั้งแต่สองสัปดาห์ขึ้นไป มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะแยกโรคซึมเศร้ากับอารมณ์เศร้า ความรู้สึกเศร้าหลังจากเหตุการณ์ไม่ดี เช่น การเลิกกับคนรัก มันความเศร้าที่สามารถเกิดขึ้นได้ ในทางกลับกัน โรคซึมเศร้าเป็นความป่วยไข้ทางจิตในระยะยาวที่ส่งผลในแง่ลบต่อการเข้าสังคม การทำงาน และชีวิตด้านอื่น ๆ ของผู้ป่วย

 

ในเชิงสถิติ ผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในช่วงอายุประมาณ 18-29 ปี เพิ่มขึ้น 21 % ในปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น โรคซึมเศร้ายังเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นตอนต้น

 

ความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้แก่

1. พันธุกรรม
2. สารเคมีหรือฮอร์โมนที่ไม่สมดุล
3. การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเป็นระยะเวลายาวนาน
4. เพศ
5. เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบทางจิตใจ

 

อาการ

1. ความเศร้าที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง
2. ความหงุดหงิด
3. ความเหน็ดเหนื่อย
4. ความรู้สึกไร้จุดมุ่งหมาย
5. ไม่มั่นใจในตัวเอง
6. รู้สึกไร้ค่า หรือรู้สึกผิด
7. มีการใช้สารเสพติด
และ 8. การมีความคิดอยากตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย

 

ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นต้นเหตุให้ผู้คนตกงาน เศรษฐกิจไม่ดี เกิดการว่างงาน ถูกแยกขาดออกจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความเครียดในการอยู่ในพื้นที่เดิม ๆ ซ้ำ ๆ เหล่านี้นำมาสู่ภาวะซึมเศร้าได้ทั้งนั้น ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เราเห็นคนเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีภาวะซึมเศร้าเยอะขึ้นมากในช่วงการแพร่ระบาดของโรค

 

นอกจากนั้นโรคซึมเศร้าก็เกิดมาจากปัญหาสังคมที่มีอยู่เดิม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม โลกาภิวัตน์ที่เป็นโลกแห่งทุนนิยม ซึ่งมีความคาดหวังสูงต่อพนักงานหรือแรงงานกดดันให้คนทำงานหนักมากขึ้น พักผ่อนน้อยลง และมีความเครียดความกดดันตัวเอง นอกจากนั้นสวัสดิการของรัฐที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ครอบคลุม ก็ก่อให้เกิดความเครียด เป็นคำถามง่าย ๆ ว่าเราจะทำอย่างไรกับชีวิตในประเทศที่รัฐสนับสนุนสวัสดิการต่าง ๆ น้อยมาก สื่อเองก็เสนอข่าวในรูปแบบต่าง ๆ และการเข้ามาของโลกดิจิทัลทำให้คนเราต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารเยอะมากตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมเช่นกัน

 

การที่เรารู้สึกมากขึ้นว่า คนใกล้ตัวเราเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นส่วนหนึ่งก็เพราะมันมีการยอมรับมากขึ้นว่าโรคนี้มีอยู่ และมันส่งผลกระทบจริงต่อผู้ป่วย การแปะป้ายผู้ป่วย และมองผู้ป่วยในแง่ลบลดลง มีสื่อที่ให้ความเข้าใจต่อโรคมากขึ้น ดังนั้น มันไม่ใช่แค่ตัวผู้ป่วยกับผู้รักษาอย่างจิตแพทย์และนักจิตบำบัดเท่านั้น แต่ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือความเข้าใจ

 

ด้วยปัจจัยทั้งสามข้อนี้ ทำให้เราทราบว่าโรคซึมเศร้าไม่ได้เกิดขึ้นด้วยเหตุผลใดเหตุผลเดียว มันเป็นทั้งปัญหาภายในตัวปัจเจก สังคมโดยรอบ การยอมรับและเข้าใจ ดังนั้น ในช่วงปัจจุบันที่โรคซึมเศร้าส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากในสังคม การให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย และให้ความรู้ให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองได้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
Project Syndicate, The Structural Problem of Depression, 14 June 2013, Retrieved from https://www.project-syndicate.org/blog/the-structural-problem-of-depression-by-michael-heller
Trial Momentum, Why is depression in young adults hitting record high?, 8 July 2021, Retrieved from https://trailsmomentum.com/blog/depression-in-young-adults-rising/
Fox 59, Depression becomes more accepted according to new IU study, 28 December 2021, Retrieved from https://fox59.com/news/depression-becomes-more-accepted-according-to-new-iu-study/

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน