ทัศนคติ

FOMO อธิบายภาวะความกลัวตกกระแส

FOMO อธิบายภาวะความกลัวตกกระแส

FOMO อธิบายภาวะความกลัวตกกระแส

 

FOMO มาจาก Fear of missing out เป็นอาการกลัวการตกกระแสจนรู้สึกกระวนกระวาย กลัวว่าจะพลาดเรื่องสำคัญ อยู่ตลอดเวลา บางครั้งเราเผลอไปทำตามกระแสทั้งที่มันอาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่เราชอบ หรือ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับเรา จนเสียเงิน เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ

 

เราสามารถค่อย ๆ ผ่อนตัวเองจากอาการ FOMO โดยใช้ชีวิตให้ช้าลง หันมาสนใจกับสิ่งที่คิดว่าน่าจะมีความหมายกับเรา เรื่องไหนที่ไม่สำคัญก็ต้องละทิ้งไปบ้าง ลดการทำหลายสิ่งในเวลาเดียวกัน ยิ่งมีเทคโนโลยีมาพร้อมกับความไวในการติดต่อสื่อสาร เทรนด์บนโลกออนไลน์เกิดขึ้นใหม่ได้ทุก ๆ เสี้ยววินาที และก่อให้เกิดภาวะ ที่ผู้คนจำนวนมากกลัวการ “พลาด” หรือ ตกเทรนด์อะไรบางอย่าง

 

โดยพฤติกรรมแบบ FOMO ไม่ใช่เรื่องแปลกและเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนยุคมิลเลนเนียล (Millennial) ที่โตมาในยุคสมัยที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสมาร์ตโฟนได้ไว

 

ในทางกลับกัน JOMO ย่อมาจาก Joy of Missing Out หรือการมีความสุขจากการพลาดบางสิ่งบางอย่างไปซึ่งจะเป็นขั้วตรงข้ามของ Fomo ที่เป็นพฤติกรรมถอยห่างจากโซเชียลมีเดีย เพื่อเอาเวลาไปโฟกัสกับกิจกรรมรอบตัว ไม่ยึดติดกับอุปกรณ์สื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเลต หรือการเสพสื่อทางโซเซียลต่าง ๆ เพราะคนเหล่านี้ส่วนใหญ่คิดว่าชีวิตหากพลาดกระแสบางอย่างไปก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด

 

ลักษณะวิธีคิดแบบ JOMO จะคิดว่า การที่เรามีเวลาให้กับครอบครัวและคนรอบข้างมากขึ้นเนื่องจากการถอยห่างจากโซเซียลทำให้มีเวลาในการได้ใช้ร่วมกับคนอื่น ๆ มากขึ้น หรือกลับมาโฟกัสตัวเองได้ดีขึ้น
มีสมาธิอยู่กับสิ่งที่ทำได้นานมากขึ้นเพราะไม่จดจ่อว่าจะมีอะไรใหม่ ๆ เข้ามา ใครทักมาหาบ้างส่งผลให้การทำงาน หรือกิจกรรมที่ทำอยู่ลื่นไหลและมีประสิทธิภาพดีขึ้น

 

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้เสนอวิธีการรับมืออาการ FOMO ไว้ดังนี้

  • ยอมรับก่อนว่าตัวเอง ติด Social internet เพราะเมื่อไหร่ที่เรายอมรับเมื่อนั้นเราก็พร้อมจะเปลี่ยน
  • ปิดโทรศัพท์ แล้วหาทำงานอดิเรก เอาเวลาสนใจคนอื่น มาบรรลุเป้าหมายของตัวเองดีกว่า
  • ใช้เวลาหรือไปเที่ยวกับเพื่อนมากขึ้น เลิกแชทกันสักวัน แล้วไปพบกันบนโลกความจริง
  • กำหนดให้ห้องนอนเป็นพื้นที่ No mobile หลีกหนีจากโทรศัพท์แล้วมาพักผ่อนดีกว่า
  • วางแผนสำรองไว้เสมอ เพื่อเตรียมพร้อมจะรับมือกับปัญหาที่มาโดยไม่ตั้งตัว
  • ละสายตาจากหน้าจอทุก ๆ 2 ชั่วโมง เปลี่ยนจากเล่น facebook มาอ่านหนังสือบ้าง

 

ถึงเวลาเช็คสัญญาณตัวเอง ว่าเรากำลังอยู่ในภาวะ FOMO หรือไม่ หากว่ากำลังอยู่ในภาวะนั้น เราจะรับมือกับมันอย่างไร แน่นอนว่าคำแนะนำในบทความนี้อาจไม่ได้เหมาะกับทุกคน แต่ลงทุนศาสตร์ชวนตั้งคำถามว่าเราจะออกแบบการดูแลคุณภาพชีวิตของเราได้อย่างไร

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
New.camri.go.th, FOMO ภัยร้าย โรคกลัวตกกระแส, อ้างอิงจาก https://new.camri.go.th/infographic/110
Zortout.com, ชวนคุณรู้จัก JOMO และ FOMO คืออะไรทำไมถึงน่าสนใจ, อ้างอิงจาก https://zortout.com/blog/what-is-jomo-fomo
Expresso, FOMO คืออะไร เมื่อผู้บริโภคกลัวการตกกระแส, อ้างอิงจาก https://blog.pttexpresso.com/fomo/

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน