ทัศนคติ

OKRs กับ KPI ต่างกันอย่างไร

OKRs กับ KPI ต่างกันอย่างไร

OKRs กับ KPI ต่างกันอย่างไร

 

OKRs (Objective Key Result) กับ KPI (Key Performance Indicator) เป็นเครื่องมือในการวัดผลลัพธ์การทำงานของพนักงานที่ได้รับความนิยมมากในบริษัทไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ โดยบริษัทแต่ละที่ก็มีระบบการประเมินผลที่แตกต่างกันออกไป บางที่อาจจะใช้ OKRs และบางที่อาจจะใช้ KPI บทความชิ้นนี้จะช่วยขยายความเข้าใจ ชี้ให้เห็นความแตกต่าง ว่า OKRs กับ KPI นั้นเหมือน หรือต่างกันอย่างไรบ้าง

 

ในการพัฒนาบริษัทให้เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คน คือทรัพยากรหลักที่กำหนดทิศทางว่าองค์กรจะเคลื่อนไปในทิศทางใด การมีพนักงานที่ผลิตชิ้นงานออกมาได้คุณภาพให้ผลลัพธ์เป็นกำไรและความก้าวหน้าของธุรกิจ เมื่อหัวใจหลักของบริษัทคือพนักงาน บริษัทก็จำเป็นจะต้องหาระบบในการประเมินความสามารถของพนักงาน ให้พนักงานแต่ละคนทำงานคงความสามารถ และเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อบริษัท

 

พอพูดถึงการประเมินผลงานของพนักงานแล้ว เราอาจคิดถึงผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอยู่ 2 อย่าง คือ การประเมินผล วัดประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อการเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ของคนที่ทำงานได้ดี ในขณะเดียวกัน ก็กระตุ้นให้พนักงานที่ยังทำงานได้ไม่บรรลุเป้าหมายรู้ตัวว่าต้องพัฒนาตัวเองให้มากขึ้น

 

หลักคิดของการดำเนินการประเมินบุคลากรแบบ KPI คือการตั้งธงไว้ก่อน ว่าตัวชี้วัดความสำเร็จ หรือความสามารถของพนักงานคนหนึ่งจะมีอะไรบ้าง ต้องทำได้ถึงตัวเลขเท่าไหนถึงจะเรียกว่าสำเร็จ มีความสามารถ ซึ่ง KPI นั้นจะมองภาพกว้างโดยครอบคลุมผลลัพธ์ในสี่ด้าน ได้แก่ การเงิน ลูกค้า กระบวนการภายในองค์กร และการเรียนรู้พัฒนา

 

ในขณะที่ OKRs เป็นเครื่องมือที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ชุด ได้แก่ Objective หรือสิ่งที่พนักงานต้องการทำให้สำเร็จ และ Key result ที่ใช้วัดว่าพนักงานคนนั้น เติบโตพัฒนาตัวเองไปได้แค่ไหนอย่างไร หรือมีความคืบหน้าในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงานได้ถึงไหนแล้ว

 

โดยตัวชี้วัดทั้งสองเครื่องมือนั้นจะมีจุดเด่นไม่เหมือนกัน

  • สำหรับ KPI
    • เป้าหมายของตัวชี้วัดถูกตั้งขึ้นโดยองค์กรเป็นหลัก
    • ตัวชี้วัดมักจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เมื่อตกลงกันแล้วจะคงระบบเดิมไว้
    • มีผลโดยตรงต่อผลตอบแทนที่พนักงานได้รับ หรือที่เราเรียกว่า Compensation KPI
    • สามารถควบคุมผลลัพธ์ได้ทั้งหมด เพราะจะเป็นตัวชี้วัดที่มีผลเป็นตัวเลขที่ชัดเจน
    • KPI มักจะไม่ค่อยมีการทำงานประสานกัน มักจะเน้นแต่เฉพาะ KPIs ของตัวเอง
    • การออกแบบจะเน้นในรูปแบบของ Top-Down เป็นหลัก คือผู้บริหารระดับสูงจะออกแบบตัววัดระดับองค์กร จนไปถึงระดับพนักงานด้วยตนเอง

 

  • สำหรับ OKRs
    • พนักงานมีส่วนร่วมหรือเป็นคนตั้งเป้าหมาย OKRs ขององค์กร
    • ท้าทายระบบการทำงานแบบเดิม และสามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลาจึงทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ได้ง่ายกว่า
    • ไม่มีผลต่อผลตอบแทนของพนักงานในแต่ละบุคคล
    • ทีมสามารถควบคุมผลลัพธ์ของ OKRs ได้เพียงบางส่วน เพราะเป็นการตั้งเป้าหมายให้สูงไว้ก่อน
    • OKRs จะทำให้เกิด Teamwork มากกว่า ทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงาน
    • การออกแบบจะเป็นรูปแบบผสมระหว่าง Top-Down กับ Bottom-Up ผู้บริหารระดับสูงจะตั้ง OKRs ระดับองค์กรขึ้นมาก่อน จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้บุคลากรในระดับต่าง ๆ รวมถึงพนักงาน ตั้ง OKRs ที่สอดคล้องกันทั้งองค์กร

 

กล่าวโดยสรุปคือ KPI เป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจน เห็นผลลัพธ์อย่างจับต้องได้ ว่างานและความสามารถของพนักงานไปถึงเป้าที่ตั้งไว้หรือไม่ ทำให้สิ่งจูงใจในการทำงานของพนักงานนั้นคือธงที่ KPI นั้นตั้งไว้ ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับการประเมินการปรับเงินเดือนและสวัสดิการอื่น ๆ ในขณะที่ระบบ OKRs จะมีความยืดหยุ่นกับการประเมินมากกว่า ให้ความสำคัญกับการปรับตัวและพัฒนาการในการทำงาน

 

อาจไม่มีคำตอบตายตัวนักว่าเครื่องมือไหนใช้ได้ดีกว่ากัน อาจต้องเป็นมุมมองของคุณเท่านั้นที่จะประเมินว่าอะไรเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการทำงานและธุรกิจของคุณได้ดีที่สุด

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
Thaiwinner.com, OKR ต่างจาก KPI อย่างไร 6 ข้อแตกต่างที่ควรรู้, อ้างอิงจาก https://thaiwinner.com/okr-kpi/
Mycloudfullfillment, ไขข้อสงสัย KPI กับ OKRs ต่างกันอย่างไร, อ้างอิงจาก https://www.mycloudfulfillment.com/the-difference-okrs-and-kpi/
PragmaandWillGroup, KPI-OKR ต่างกันอย่างไร อะไรเหมาะกับองค์กรคุณ, อ้างอิงจาก https://pwg.co.th/articles/kpi-okr-%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1/#:~:text=KPI%20%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%99,%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน