ทัศนคติ

Agile รูปแบบการทำงานในโลกยุคใหม่

Agile รูปแบบการทำงานในโลกยุคใหม่

Agile รูปแบบการทำงานในโลกยุคใหม่

 

การทำงานแบบ Agile คืออะไร
ช่วงหลังมานี้ เมื่อถึงเวลาการประชุมเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์ในองค์กรหลากหลายแห่ง คำว่า “agile” เป็นคำที่เริ่มถูกนำมาใช้ คนทำงานเริ่มอยากรู้ว่าการทำงานแบบ agile คืออะไร ซึ่งถ้าให้ตอบคำตอบอย่างง่ายและสั้น คำว่า agile คือวิธีการทำงานแบบ เมื่อไหร่ก็ได้ที่ไหนก็ได้

 

ด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี คนทำงานออฟฟิศสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้บนโลก เพราะเพียงมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ผู้คนก็สามารถประชุม สื่อสาร วางแผน ด้วยแพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวก เป็นเครื่องมือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ  ทำให้คนไม่ต้องยึดติดกับการเข้าออฟฟิศไปพบหน้ากัน ยิ่งด้วยอัตราเร่งที่บังคับให้พนักงาน Work from Home เพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทางองค์กรหลาย ๆ แห่งจึงพยายามหาวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดการงาน

 

ซึ่ง agile ก็เป็นหนึ่งในวิธีการทำงานซึ่งเป็นคำตอบที่องค์กรหลาย ๆ แห่งเลือกให้

การขีดเส้นขอบเขตงานให้ชัดเจน มีเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่จับต้องได้จริงมีความเป็นรูปธรรม คือคุณลักษณะหลัก ๆ ของการทำงานแบบ agile การทำงานในลักษณะนี้ช่วยให้คนทำงานรู้สึกมั่นใจในความสามารถของตัวเอง รู้ว่าเป้าหมายระยะสั้น กลาง ยาวของตัวเองคืออะไร ซึ่งระหว่างทางการทำงานแบบ agile จะเอื้อให้คนทำงานคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ  และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

 

บริษัทหลายแห่งปรับตัวจากการเป็นองค์กรที่มีระดับขั้นอย่างชัดเจน ทุกคนเข้าออฟฟิศเก้าโมงเลิกห้าโมงเย็น เปลี่ยนเป็นพนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ และปรับเปลี่ยนลักษณะการทำงานระดับขั้นการสั่งงานให้มีความเท่าเทียมกับมากขึ้น ซึ่งส่วนนี้จะเสริมความรวดเร็ว ลดระยะเวลาที่ต้องใช้กับลำดับขั้นการตัดสินใจภายในองค์กรเอง

 

ถ้าให้พูดง่าย ๆ  การทำงานแบบ agile คือการอนุญาตให้พนักงาน เลือกว่า

  1. จะทำงานเมื่อไหร่
  2. ทำงานในบทบาทไหน
  3. จะทำงานจากที่ไหน
  4. จะทำงานกับทีมไหน และงานอะไร

 

โดยวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อให้เกิดการทำงานแบบ agile คือ

  1. ให้การเคารพในความเป็นปัจเจกบุคคลของกันและกัน ไม่ว่าความแตกต่างนั้นจะเป็นเรื่องเพศ อายุ วัยวุฒิ และทักษะความสามารถต่าง ๆ ความหลากหลายของคนในทีมนี้จะสามารถทำให้เราทำงานที่มีคุณค่าตอบโจทย์คนในวงกว้างได้
  2. เชื่อมั่นว่าแต่ละคนจะทำงานของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ บริหารจัดการงานต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง มีแรงจูงใจที่อยากจะพัฒนาตนเองให้เก่งขึ้นอยู่เสมอ
  3. กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารในทีม เพื่อให้ทีมมองเห็นเป้าหมายตรงกันว่าเราจะทำงานในทิศทางไหน ทุกคนเข้าใจกระบวนการการทำงานซึ่งกันและกัน ใครติดปัญหาหรืออยากแก้ไขปรับปรุงอะไร จะได้มีการร่วมมือแก้ไขกันได้อย่างรวดเร็ว
  4. ไม่จำกัดเฉพาะแค่เรื่องที่เป็นปัญหาเท่านั้น ถ้ามีเรื่องที่ชอบ พอใจ หรืออยากจะชื่นชมทีมก็สามารถทำได้ เพื่อเป็นการช่วยให้ทีมมีกำลังใจในการทำงานต่อไป นอกจากนี้ยังสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทีมจะเปิดใจที่จะนำเสนอความคิดเห็น หรือแนวคิดใหม่ ๆ ในการทำงานได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
  5. กระตุ้นให้คนในทีมปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เมื่อได้รับความคิดเห็นไม่ว่าจะจากทีม หรือพนักงานคนอื่นที่เกี่ยวข้องก็ต้องรีบกลับมาปรับปรุง แก้ไขทันที เปิดใจให้กว้าง พร้อมเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตนเองและทีมเสมอ นอกจากนี้ต้องไม่รอแค่ความคิดเห็นจากคนภายนอกเท่านั้น แต่ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอด้วย

 

ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนการทำงานไปเป็นการทำงานแบบ agile ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดความท้าทายหรือแรงต้าน ด้วยโครงสร้างของวัฒนธรรมองค์กรที่มีแต่เดิม ดังนั้น agile อาจไม่ใช่วิธีการทำงานที่เหมาะสมกับบางโปรเจกต์หรือองค์กรบางแห่ง แต่ agile เป็นเพียงอีกเครื่องมือหนึ่งเป็นทางเลือกให้องค์กรเลือกใช้เพื่อพัฒนาการจัดงานการให้ดีขึ้นได้

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
Marketingoops.com, ทำความรู้จัก agile แนวคิดการทำงานขององค์กรรุ่นใหม่, อ้างอิงจาก https://www.marketingoops.com/news/agile-working/
Habitaction, What is agile working, Retrieved from https://habitaction.com/what-is-agile-working/
Nexdigitalmarketing, agile แนวคิดการทำงานขององค์กรยุคใหม่, อ้างอิงจาก https://www.nexdigitalmarketing.net/post/agile-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84-%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A2-%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน