ธุรกิจ

ชวนมาทำความรู้จัก BACKDOOR LISTING

ชวนมาทำความรู้จัก BACKDOOR LISTING

ชวนมาทำความรู้จัก BACKDOOR LISTING

 

backdoor listing คือเรื่องที่นักลงทุนเคยได้ยิน แต่คงมีอีกหลายคนที่ยังไม่เข้าใจ ทำไมบริษัทเล็กถึงเทคโอเวอร์บริษัทใหญ่ได้ ถ้าบริษัทถูกเทคมีขนาดใหญ่กว่า แล้วเงินของบริษัทที่จะไปเทคจะมีพอได้อย่างไร วันนี้ลงทุนศาสตร์มีคำอธิบายอย่างละเอียดให้ อ่านรอบแรกอาจจะงง ๆ หน่อย แต่ลองตั้งใจทำความเข้าใจ ไม่ยากเกินไป และมีประโยชน์มากทีเดียว

backdoor listing หรือการที่บริษัทกลายสภาพจดทะเบียนโดยไม่ต้องระดมทุนแบบ IPO เรื่องราวอาจจะดูซับซ้อนพอสมควร แต่อยากให้ลองอ่านและพิจารณาตามอย่างละเอียด แล้วจะรู้ว่าเรื่องของเงินนี่มันเล่นแร่แปรธาตุได้มากมายกว่าที่คิด

Backdoor listing คือ reverse take over ประเภทหนึ่ง แต่ถ้าบริษัทที่ถูกควบรวมมีขนาดเล็กกว่าบริษัทแม่ก็จะนับเป็นการควบรวมแบบปรกติ ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปรกติ ไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงมากต่อบริษัทจดทะเบียนจนถึงขั้นต้องทำแบบขึ้นทะเบียนหลักทรัพย์ใหม่

 

เหตุผลที่ไม่อยากจดทะเบียนหลักทรัพย์ใหม่มีหลายอย่าง ทั้งในแง่ความยุ่งยากในการเตรียมขาย ipo รวมไปถึงค่าใช้จ่ายมากมายมหาศาลที่ต้องจ่ายให้กับวาณิชธนกร หลายบริษัทกำไรสุทธิหลักห้าสิบล้าน แต่โดนค่าวาณิชธนกิจเป็นสิบล้านก็มี

 

ผู้บริหาร A จึงเสนอบริษัท A ให้ผู้บริหาร B เหมือนขายบริษัทต่อให้บริษัท B มาสวม ผู้บริหาร A จึงตอบแทนผลประโยชน์ให้ จะเป็นรูปแบบไหนก็แล้วแต่

 

ขั้นตอนที่ 1 พบได้บ่อยคือเพิ่มทุนแบบ PP ให้ผู้บริหาร B มาถือหุ้นในบริษัท A ก่อน เพื่อที่จะเอาเงินของผู้บริหาร B นั่นแหละไปซื้อบริษัท B เอง

 

ขั้นตอนที่ 2 พบไม่ค่อยบ่อยคือการกู้ธนาคาร เพราะขั้นตอนและการตรวจสอบจะวุ่นวายกว่าเดิมมาก ส่วนใหญ่พบในการควบรวมกิจการแบบปรกติมากกว่า


บริษัท A ซื้อหุ้นบริษัท B จากผู้บริหาร B อำนาจการควบคุมบริษัท B จึงเคลื่อนย้ายจากผู้บริหาร B ไปยังบริษัท A

 

ขั้นตอนที่ 3 คือสุดยอดท่าไม้ตาย นั่นคือ RTO แปลว่า บริษัทที่ไปควบรวมเล็กกว่าบริษัทที่ถูกควบรวม ดังนั้นส่วนใหญ่ เงินจะไม่พอควบรวม บริษัท A ที่ไปซื้อสิทธิ์ในการควบคุมบริษัท B มาจากผู้บริหาร B จึงมีเงินจ่ายไม่พอ บริษัท A จึงเอาหุ้นของบริษัทตัวเองจ่ายให้ผู้บริหาร B ผู้บริหาร B จึงกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท A ซึ่งบริษัท A เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท B

 

ดังนั้น เหตุการณ์ตอนนี้คือผู้บริหาร B มีอำนาจการควบคุมเหนือผู้บริหาร A (ซึ่งกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย เพราะตังน้อยกว่า) บริษัท A และบริษัท B จึงเปรียบเสมือนกับ ผู้บริหาร B และบริษัท B ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท A หลังจากนั้น บริษัทมักจะเปลี่ยนชื่อ เช่น TYONG ที่มีขนาดเล็กไปควบรวม BTSC ที่มีขนาดใหญ่และเปลี่ยนชื่อเป็น BTS หรือ APC ที่มีขนาดเล็กไปควบรวม EPCL ที่มีขนาดใหญ่และเปลี่ยนชื่อเป็น EARTH

 

การควบรวมจะถือเป็น Backdoor listing เมื่อขนาดบริษัทที่ควบรวมมาใหญ่กว่าบริษัทแม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจควบคุมบริษัท โดย backdoor listing ไม่ผิดกฎหมาย แต่จำเป็นต้องทำเอกสารชี้แจงข้อมูลบริษัทเหมือนขึ้นทะเบียนหลักทรัพย์ใหม่ ยกเว้นกรณีที่พิสูจน์ได้ว่า ธุรกิจที่ควบรวมมาส่งเสริมธุรกิจเดิม ธุรกิจเดิมยังคงดำเนินงานอยู่ บริษัทที่ควบรวมมามีคุณสมบัติเหมาะสมกับเป็นบริษัทจดทะเบียน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจควบคุมบริษัท

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน