ธุรกิจ

บริษัทจะป้องกันการลาออกของพนักงานจำนวนมาก (High Turnover Rate) ได้อย่างไร

บริษัทจะป้องกันการลาออกของพนักงานจำนวนมาก (High Turnover Rate) ได้อย่างไร

บริษัทจะป้องกันการลาออกของพนักงานจำนวนมาก (High Turnover Rate) ได้อย่างไร

 

การเปิดรับสมัครคนเข้ามาทำงานใช้ทรัพยากร ทั้งเวลา เงินทุน และบุคลากรที่ต้องร่วมด้วยช่วยกันทำให้ระบบการรับสมัครจนถึงการได้พนักงานคนใหม่มาเข้าทำงานในองค์กร ในขณะเดียวกัน การลาออกก็ใช้ทรัพยากรเช่นกัน ในแง่นี้หมายรวมไปถึงเวลาที่จะต้องเสียไปกับการฝึกพนักงานคนใหม่ การเสียคนที่รู้เนื้องานและเริ่มปรับตัวกับการทำงานได้แล้ว ดังนั้นการลาออกของพนักงานจึงส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของบริษัทโดยตรง

 

การลาออกหรือสถานการณ์ที่พนักงานอยู่ทำงานไม่นานนั้นเป็นปัญหาหลักของบริษัทไม่ว่าจะเล็กจะใหญ่ ก่อนที่เราจะไปพูดถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ ลองมาทำความเข้าใจกันดูก่อนว่า Turn Over คืออะไร

 

การจะคิดอัตราการ Turn Over หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่าการลาออก สามารถคิดได้เบื้องต้นโดยกำหนดกรอบระยะเวลาในการสำรวจ แล้วดูว่าในช่วงเวลานั้น ๆ มีพนักงานลาออกมากน้อยเพียงใด โดยบริษัทหลาย ๆ แห่งมักจะกำหนดระยะเวลาในกรอบช่วงหนึ่งปี

 

หากบริษัทเผชิญกับสภาวะที่คนทำงานลาออกจากงานเยอะ ต้องรับสมัครคนเข้าทำงานใหม่ และแนวโน้มของพนักงานใหม่ก็ดูเหมือนจะอยู่ไม่นาน สภาวการณ์แบบนี้เป็นสัญญาณสำคัญที่กำลังบอกบริษัทว่า มันมีปัญหาอยู่สักที่ เราจำเป็นจะต้องหาทางแก้ไข

 

เหตุผลที่ก่อให้เกิด High Turn Over Rate นั้นมาจากหลายปัจจัย โดยมีตัวอย่างดังนี้

  • ไม่มีโอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงาน
  • ความรู้สึกหมดไฟ หรือทำงานหนักเกินไป
  • ไม่มีการฟีดแบค หรือให้ความสำคัญกับงานที่ทำสำเร็จ
  • ความไม่สมดุลของเวลาในการใช้ชีวิตและเวลาทำงาน
  • ความลำเอียง
  • คนที่ได้งานใหม่ที่อื่น ซื้อตัวด้วยเรทเงินเดือนที่แพงกว่าเดิม
  • ความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมเมื่อเกิดความขัดแย้งในบริษัท
  • หรือแม้กระทั่ง ภาวะต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ในชีวิตของคนทำงานแต่ละคน

 

แล้วอย่างนี้ บริษัทจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด High Turn Over Rate หรือถ้าเกิดแล้ว จะลดผลกระทบในแง่ลบอย่างไร

  • ให้พนักงานเป็นส่วนหนึ่งกับวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback: ทำให้พนักงานรู้สึกสามารถแสดงความเห็นได้อย่างอิสระและความเห็นของพวกเขาถูกรับฟังจริง ๆ และพนักงานจะอยากมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อเรื่องที่กระทบกับงานและทิศทางของบริษัทอีกด้วย
  • ให้แรงจูงใจ และให้การชื่นชมและขอบคุณกับพนักงาน: หากเราได้รับการชื่นชมยอมรับจากผู้อื่น แล้วเราก็จะส่งต่อสิ่งนี้ให้คนอื่นเช่นกัน ดังนั้นการให้ความสำคัญกับพนักงานจะช่วยเสริมคุณค่าขององค์กร ผลักดันพนักงาน และสร้างให้วัฒนธรรมองค์กรแข็งแรง
  • สร้างสมดุลชีวิตและการทำงาน (Work-life balance): พนักงานไม่ได้ใช้ชีวิตเพื่อการทำงานอย่างเดียว ทุกคนมีชีวิตที่นอกเหนือจากงานด้วย และพวกเขาต้องการให้หัวหน้าตระหนักเรื่องนี้ หากบริษัทเข้าใจและตระหนักถึงประเด็นนี้จะช่วยให้พนักงานมีความเครียดจากทำงานน้อยลงและลดโอกาสหมดไฟในการทำงานด้วย
  • จัดโปรแกรมพัฒนาและฝึกฝน: พัฒนาบุคลากรเพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานได้เพิ่มพูนทักษะและศักยภาพในการทำงาน เพื่อสร้างแรงจูงใจและรักษาพวกเขาให้คงอยู่ในองค์กรต่อไป
  • จูงใจด้วยโปรแกรมดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงาน เช่น ส่วนลดสมาชิกฟิตเนส ค่าสมาชิกรายเดือนของบริการหรือสื่อบันเทิงที่พนักงานสนใจ เป็นต้น

 

การดูแลพนักงานนั้นสำคัญกว่าที่คิด เพราะคนทำงานไม่ใช่เครื่องจักรที่ทำงานได้หามรุ่งหามค่ำโดยมีอัตราการผลิตงานเท่าเดิม คนทำงานคือมนุษย์ที่ถ้าได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมก็เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็ว ในขณะที่หากอยู่ในที่ที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำได้ตัดสินใจลาออกได้ง่าย ๆ บริษัทที่มีวิสัยทัศน์พัฒนาและดูแลพนักงานที่ดีก็จะได้ประโยชน์จากคนทำงานที่มีประสบการณ์ แต่ไม่ต้องเสียเงินเสียเวลากับการรับสมัครคนใหม่ด้วย

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
Happily.ai, 5 กลยุทธ์ในการรักษาพนักงานที่ได้ผลที่สุดในปี 2022, อ้างอิงจาก https://blog.happily.ai/th/5-most-effective-employee-retention-strategies-for-2022-th/
HRProfilingSolutions, Employee Turnover, Causes Effects and Strategies, Retrieved from https://www.hrprofilingsolutions.com.au/blogs/aus-blog/employee-turnover-causes-effects-strategies/
SmallBusiness.chron.com, The negative impacts of the high turnover rate, Retrieved from https://smallbusiness.chron.com/negative-impacts-high-turnover-rate-20269.html

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน