ทิศทางเศรษฐกิจของเมียนมา จะเป็นอย่างไรในวันที่เงินจ๊าดลอยตัว
นับตั้งแต่การเกิดรัฐประหารภายในประเทศเมียนมาในปี ค.ศ. 2021 ก็ส่งผลทำให้เกิดความขัดแย้ง และปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลที่ได้มาจากการรัฐประหาร ที่นำโดยพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ได้เข้ามาจัดการได้อย่างสยดสยอง และมีปัญหาอยู่ในหลาย ๆ ครั้ง มาจนถึงตอนนี้ และหนึ่งในปัญหาที่เมียนมายังคงต้องประสบพบเจอในเวลาต่อมา อันเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่แพ้กับปัญหาสิทธิมนุษยชน นั่นก็คือ ปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยปัญหาที่เราจะมาพูดถึงกันนั้น ก็คือ ปัญหาเงินจ๊าดลอยตัวนั่นเอง
สำหรับเงินจ๊าดของเมียนมานั้น เรียกได้ว่าเป็นสกุลเงินที่ต้องเจอกับปัญหามาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่รัฐบาลทหารของเมียนมาในยุคเริ่มต้นหลังได้รับเอกราช เช่น ในยุคที่รัฐบาลของนายพลอู เนวิน ได้มีการสั่งยกเลิกค่าธนบัตรอยู่หลายครั้ง เพื่อที่จะทำให้ทุกอย่างเป็นไปตามแผนการเศรษฐกิจ จนส่งผลทำให้ระบบหลาย ๆ อย่างในเวลานั้นเกิดปัญหาอย่างใหญ่หลวง และส่งผลทำให้เกิดความขัดแย้งในเวลาต่อมา
โดยถึงแม้ว่าสถานการณ์ภายในเมียนมา นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 ที่ได้เริ่มมีการเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ส่งผลทำให้เกิดการเปิดประเทศในช่วงสมัยของรัฐบาลหลังนายพลเนวิน จนส่งผลทำให้มีนักธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น และยังรวมไปถึงภาพลักษณ์ของสิทธิมนุษยชนที่สูงขึ้น (แต่ยังคงสะดุดอยู่กับปัญหาสิทธิมนุษยชนกับชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะกับชาวโรฮิงญา ที่ส่งผลกระทบทำให้การลี้ภัยคลื่นมนุษย์ขนาดใหญ่ในช่วงหนึ่ง) แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ในด้านเศรษฐกิจมากนัก
ซึ่งปัญหาหลักใหญ่ ๆ ของเศรษฐกิจเมียนมาในปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานนั้น มีตั้งแต่ปัญหาของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยังอ่อนแออยู่ ผู้ประกอบการหลายกลุ่มที่ยังคงลังเล อันเป็นผลมาจากความไม่น่าเชื่อถือในระบบต่าง ๆ ของเมียนมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐมักไม่ค่อยให้ความร่วมมือ รวมไปถึงต้นทุนค่าที่ดินที่สูงลิบลิ่ว จนทำให้การประกอบการใด ๆ เป็นไปได้ยากยิ่ง
และเมื่อการรัฐประหารได้เกิดขึ้น ส่งผลทำให้ในระยะแรก ซึ่งเป็นช่วง 1 ปีแรกหลังการรัฐประหาร ได้เกิดการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย โดยที่ตัวรัฐบาลของนายพลมิน อ่อน หล่าย ได้จัดการปัญหานี้ด้วยความรุนแรง จนส่งผลทำให้ภาพลักษณ์เรื่องของสิทธิมนุษยชนในภาพรวม กลับมาแย่ลง และทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ เช่น ผู้ประกอบการต่างชาติเริ่มลังเล ส่งผลทำให้มีการถอนตัวในการทำธุรกิจในเมียนมาในเวลาต่อมา ซึ่งส่งผลทำให้เกิดภาวะว่างงานหลังจากนั้น, การถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ และเงินทุนสำรองของประเทศมีปัญหา เป็นต้น ส่งผลทำให้ค่าเงินจ๊าดเริ่มอ่อนค่าอย่างรุนแรง
แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เศรษฐกิจในเมียนมาภายหลังการรัฐประหารนั้น กลับมีตัวเลขการเติบโตที่เริ่มคงที่ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่แรงงานเริ่มกลับเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอ ซึ่งเป็นผลจากการที่กองทัพได้มีการสัญญาในการให้เงินจูงใจในเวลาต่อมา เพราะฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า เศรษฐกิจเมียนมาในเวลาต่อมานี้อาจมีแนวโน้มที่ไม่ถึงขั้นล่มสลายดังที่มีการคาดการณ์ไว้ เพราะเมียนมายังคงสามารถที่จะส่งออกก๊าซ รวมไปถึงการสนับสนุนทางเศรษฐกิจที่หลังไหลจากจีนและรัสเซียมากพอสมควร ก็ยังคงพอทำให้เศรษฐกิจของเมียนมายังคงทรงตัวได้
แต่แน่นอนว่า การมีข้อดีดังกล่าวนี้ปรากฏ ก็ไม่ได้ทำให้ปัญหาที่อยู่หน้างานของเมียนมาจะลดลง เพราะในการจัดการด้านการเงินในขณะนี้ รัฐบาลของนายพลมิน อ่อง หล่าย ได้ทำการจัดตั้งบุคคลในรัฐบาลของตนเองที่อ่อนประสบการณ์ในธนาคารกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่มีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวนี้มากนัก นั่นจึงทำให้ปัญหานี้ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ซึ่งแน่นอนว่าการแก้ปัญหาในเรื่องเงินจ๊าดลอยตัวในขณะนี้นั้น รัฐบาลเมียนมาก็ได้ตั้งนโยบายในการแก้ไขเพิ่มเติม ด้วยการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเงินจ๊าดกับเงินสกุลอื่น เช่น เงินหยวนของจีน และเงินบาทของไทย โดยเป็นการแลกเปลี่ยนโดยตรง ซึ่งสำหรับเงินสกุลบาทนั้น จะมีการแลกเปลี่ยนในบริเวณแถบชายแดน
แต่ถึงกระนั้น เมียนมาก็ยังคงมีทางออกที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจของเมียนมาดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรกร ที่ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ภายในประเทศ ซึ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยการฟื้นฟูภาคการเกษตรด้วยการจัดซื้อสินค้าทางเกษตรนี้จากประเทศไทยได้, กลุ่มอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งจนน่าเหลือเชื่อ รวมไปถึงแรงงานข้ามชาติ ซึ่งสามารถที่จะทำงานได้มากกว่าเดิม ภายหลังการผ่อนปรนในนโยบายการควบคุมการระบายของโรคโควิด-19 นั่นเอง และเหนือสิ่งอื่นใด การพยายามประคองเศรษฐกิจโดยมีประเทศใกล้เคียงร่วมช่วยเหลือ ซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบทบาทในการช่วยเหลือในระดับนึงเลยทีเดียว
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE
อ้างอิง
The101.world, 19 เดือนหลังรัฐประหารพม่า: ในม่านหมอกสงครามกลางเมืองและวิกฤตการเงิน, https://www.the101.world/19-months-after-myanmar-coup
THE REPORTERS, เมียนมา รับรอง ‘เงินบาท’ คู่ ‘เงินจ๊าด’ สำหรับซื้อขายตามแนวชายแดน, https://www.thereporters.co/asean/0503221622
TECHSAUCE, วิกฤตค่าเงินเมียนมาร์ มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ทำไมธนาคารกลางสั่งหยุดจ่ายหนี้ต่างชาติ, https://techsauce.co/news/what-happen-to-myanmar-kyat-currency-crisis-suspends-foreign-loans
Dailynews, แบงก์ชาติพม่าไฟเขียวใช้ “หยวน-จ๊าด” ส่งเสริมการค้าชายแดน, https://www.dailynews.co.th/news/580041
BBC NEWS, เลือกตั้งเมียนมา : จากเผด็จการทหารสู่รัฐบาล “ขิงแก่” ของ ออง ซาน ซู จี, https://www.bbc.com/thai/international-54401096
BBC NEWS, รัฐประหารเมียนมา : นักธุรกิจไทยต้องเผชิญอะไรในรอบ 3 เดือนของการนองเลือด, https://www.bbc.com/thai/thailand-56855531
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :