เศรษฐกิจ

วิกฤติเศรษฐกิจในศรีลังกา ที่มาที่ไปคืออะไร และสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร

วิกฤติเศรษฐกิจในศรีลังกา ที่มาที่ไปคืออะไร และสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร

วิกฤติเศรษฐกิจในศรีลังกา ที่มาที่ไปคืออะไร และสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร

 

ปัญหาทางเศรษฐกิจของศรีลังกาเริ่มต้นมาจากปัญหาย่อย ๆ ต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2016-2017 แล้ว ผนวกกับการบริหารจัดการบ้านเมืองที่มีการเล่นพรรคเล่นพวก นำทหารเข้ามาเป็นนักการเมือง ดำเนินนโยบายผิดพลาด และพยายามกดทับประชาชน ทำให้ศรีลังกาเดินมาสู่จุดวิกฤติ ซึ่งก็ยังไม่แน่ใจว่าทางออกจะเป็นอย่างไร ลงทุนศาสตร์ชวนทำความเข้าใจที่มาที่ไปของสิ่งที่เกิดขึ้น ว่าประกอบไปด้วยปัจจัยอะไรบ้าง และมีแนวโน้มว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต

 

คุณ Murtaza Jafferjee คณะกรรมการทำงานวิจัยชื่อ Advocata Institute ที่ตั้งอยู่ในเมืองโคลอมโบ สรุปสั้น ๆ เกี่ยวกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ว่า 30% คือความโชคร้าย ส่วนอีก 70% คือการบริหารจัดการที่ล้มเหลว จึงนำมาสู่วิกฤติในครั้งนี้

 

ในทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลศรีลังกาได้ยืมเงินเป็นจำนวนมากจากผู้ปล่อยกู้ในต่างประเทศและมีการขยายบริการสาธารณะต่าง ๆ เมื่อรัฐบาลยืมเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดหายนะทางเศรษฐกิจอยู่หลายครั้ง เช่น ปัญหาด้านผลผลิตเกษตรกรรมในปี 2016-2017 วิกฤติรัฐธรรมนูญในปี 2018 และเหตุการณ์วางระเบิดในปี 2019

 

หลังจากนั้นในปี 2019 มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ คือ Rajapaksa เฉือนลดเงินภาษีลง หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ถึงการเป็นประธานาธิบดีของ Rajapaksa จะเป็นเรื่องใหม่ แต่เขาทำงานเบื้องหลังรัฐบาลมานานอยู่แล้ว
ปลัดกระทรวงกลาโหมของศรีลังกาเองก็ดำรงตำแหน่งโดยพี่ชายของ Rajapaksa โดยตัวเขาก็ได้ทำงานภายใต้กระทรวงกลาโหมมานานในระดับหนึ่ง เขามีส่วนร่วมในการบุกรุกของทหารเพื่อปิดฉาก 26 ปีของสงครามกลางเมือง

 

เมื่อชนะการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี Rajapaksa แต่งตั้งพี่ชายของตน ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนก่อน คือ Mahinda Rajapaksa เป็นนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งอดีตเจ้าหน้าที่ทหารเข้าเป็นคณะรัฐมนตรีเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นก็มีการแต่งตั้งน้องชายของตย Basil Rajapaksa เป็นปลัดกระทรวงการคลังอีกด้วย

 

ในปี 2020 เมื่อเกิดวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้ศรีลังกา ซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพิงเศรษฐกิจอยู่กับการท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนใหญ่เจอปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการปิดประเทศ ปิดชายแดน และมาตรล็อคดาวน์และเคอร์ฟิวต่าง ๆ ทำให้รัฐบาลเจอกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหนัก

 

ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจที่มาจากการเมืองที่ไม่เป็นธรรมด้วยนั้น ผนวกให้ส่งผลร้ายต่อประชาชนในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น เกิดความขาดแคลนอาหารและพลังงาน เนื่องจากไม่มีเงินในการนำเข้าวัตถุดิบเหล่านี้ การลดภาษีทำให้ต้องยิ่งพึ่งพาการเงินสาธารณะมากขึ้น ทำให้สถานการณ์ซับซ้อนมากขึ้นไปอีก

 

เศรษฐกิจของศรีลังกาเมื่อเกิดวิกฤติโควิด 19 ทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจาก 94% ของ GDP ทะยานไปถึง 119% ของ GDP

สิ่งที่รัฐบาลศรีลังกาพยายามทำคือขอยืมเงินจากอินเดียและจีน และขอชะลอการจ่ายหนี้

นักวิชาการเห็นว่าต่อไปศรีลังกาจะต้องวางมาตรการการจัดการหนี้ใหม่ทั้งหมด หรือไม่ก็ต้องยืมเงินจาก IMF

 

นอกจากปัญหาทางเศรษฐกิจแล้ว มันก็ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาทางการเมืองด้วยเช่นกัน เมื่อผู้คนอดอยากปากแห้ง เผชิญสภาวะชะงักงันที่มาจากการบริหารจัดการล้มเหลวของรัฐบาล จึงมีการรวมตัวกันเพื่อประท้วงรัฐบาล ซึ่งวิธีการที่รัฐบาลใช้ก็เป็นมาตรการที่กดทับและเป็นเผด็จการ

 

เป็นสิ่งที่ต้องรอติดตามข่าวกันต่อไป ว่าวิกฤติการณ์นี้จะจบลงอย่างไร อะไรจะเป็นทางออกทั้งในแง่เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศศรีลังกาได้

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
Ajjazeera, Sri Lanka How is an economic crisis affecting people, Retrieved from https://www.aljazeera.com/program/the-stream/2022/3/31/sri-lanka-how-is-an-economic-crisis-affecting-people
CNN World, Sri Lanka is in an economic crisis, Here’s what it’s like for people on the ground, Retrieved from https://edition.cnn.com/2022/04/02/asia/sri-lanka-economic-crisis-protests-intl-hnk-dst/index.html
DW, What’s behind Sri Lanka economic crisis, Retrieved from https://www.dw.com/en/whats-behind-sri-lankas-economic-crisis/a-61281707
Photo Credit: https://www.reuters.com/world/asia-pacific/crisis-hit-sri-lanka-sends-troops-oversee-fuel-distribution-2022-03-22/

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน