ความเหลื่อมล้ำคืออะไร และวัดจากอะไรได้บ้าง
เรามักได้ยินคนพูดอยู่บ่อย ๆ ว่ามีการจัดลำดับความเหลื่อมล้ำ โดยใช้การแบ่งเป็นประเทศ ซึ่งแนวโน้มที่ได้ยินกันอย่างหนาหูคือประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำสูง เราอาจเห็นภาพบนโซเชียลมีเดียเปรียบเทียบตึกสูงกับพื้นที่แออัด ทางเท้าที่ไม่เอื้อให้คนพิการ ปัญหาคนไร้บ้าน คนจนเมือง ลงทุนศาสตร์ชวนกลับมาทำความเข้าใจนิยามของความเหลื่อมล้ำ ว่าแท้จริงมันคืออะไร มีตัวชี้วัดอะไรบ้าง เพื่อที่จะนำความเข้าใจเหล่านี้ไปใช้เป็นมุมมอง แว่นตา ประเมินความเหลื่อมล้ำ ด้วยนิยามที่ชัดเจนและตัวชี้วัดที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากล
นิยามความเหลื่อมล้ำจากสหประชาชาติระบุว่า ความเหลื่อมล้ำหมายความว่าภาวะของความไม่เท่าเทียมกัน ในแง่ของ สถานะ สิทธิ และโอกาส คำว่าความเหลื่อมล้ำที่เจาะจงโดยเฉพาะเศรษฐกิจมักหมายถึง ความเหลื่อมล้ำทางรายรับ หรือในความหมายที่กว้างกว่านั้นคือ ความเหลื่อมล้ำในบริบทการใช้ชีวิต ความเหลื่อมล้ำในนิยามอื่นๆเข่น สิทธิ หรือ กฎหมาย ก็มีรายละเอียดแตกต่างออกไปอีกเช่นกัน
เมื่อพูดถึงความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ บทสนทนาส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานมาจากสองมุมมอง มุมมองแรกคือ ความเหลื่อมล้ำในแง่ของผลผลิต หรือสินค้า ซึ่งอาจเป็นเพราะเหตุผลต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ พื้นฐานครอบครัว สถานะทางสังคม เพศ แต่ในอีกแง่หนึ่งจะมองความเหลื่อมล้ำบนพื้นฐานของโอกาส โอกาสที่จะส่งผลต่อความเป็นไปได้ในการประสบความสำคัญ
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจะแปรผันตามตัวชี้วัดหลาย ๆ อย่าง เช่น ปัจเจกบุคคล กลุ่มคนบางกลุ่มในจำนวนประชากร หรือแบ่งออกเป็นประเทศ โดยความเหลื่อมล้ำในทฤษฏีของการพัฒนา ส่วนใหญ่แล้วจะมองไปที่คุณภาพชีวิต เช่น ความเหลื่อมล้ำในการได้รับรายรับ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบสุขภาพ และความเหลื่อมล้ำในอาหาร
ตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือทฤษฏีค่าสัมประสิทธิ์ความเสมอภาค หรือ Gini Coefficient เป็นตัวเลขอีกตัวหนึ่งซึ่งนิยมถูกนำมาใช้ในการวัดความเหลื่อมล้ำ เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์ Gini นี้จะนำทรัพย์สิน (หรือรายได้ หรือปัจจัยอื่นๆ แล้วแต่ว่าวัดด้วยอะไร) ของทุกคนในสังคมมาคำนวณ ผลลัพธ์สุดท้ายจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100% โดยถ้าตัวเลขยิ่งต่ำ ก็แปลว่าสังคมเท่าเทียมกัน ในขณะที่ถ้าหากคำนวณค่า Gini ออกมาได้สูง ก็แปลว่าสังคมมีความเหลื่อมล้ำมาก
ในแง่ของประเทศไทย “รายได้” เป็นปัจจัยอีกตัวหนึ่งซึ่งนิยมนำมาคำนวณเพื่อฉายภาพความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยวิธีการวัดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้แบบหนึ่งที่หน่วยงานราชการในประเทศไทยนิยมใช้คือ การเปรียบเทียบว่ากลุ่มคนที่มีรายได้มากที่สุด 10% มีรายได้คิดเป็นกี่เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยที่สุด 10%
ดังนั้นแล้ว เมื่อพูดคำว่า ความเหลื่อมล้ำ ต้องดูรายละเอียดด้วยว่าเรากำลังพูดถึงความเหลื่อมล้ำในบริบทไหน อะไรคืออัตราชี้วัด นิยามของความเหลื่อมล้ำที่เรากำลังใช้เป็นแว่นสายตามองดูคืออะไร เพื่อที่จะได้วิเคราะห์และเข้าใจสภาพสังคม กลุ่มประชากร ทีไ่ด้รับผลกระทบอย่างแม่นยำมากขึ้น
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE
พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์
อ้างอิง
GSDRC Applied Knowledge Service, Measuring inequality, Retrieved from https://gsdrc.org/topic-guides/poverty-and-inequality/measuring-and-analysing-poverty-and-inequality/1-3-measures-of-inequality/#:~:text=The%20most%20widely%20used%20measure,Haughton%20%26%20Khandker%2C%202009).
SDG Pulse, The many faces of inequality, Retrieved from https://sdgpulse.unctad.org/in-focus-inequality/
Development Strategy and Policy Analysis Unit, Concepts of inequality Development Issues No.1, Retrieved from https://www.un.org/en/development/desa/policy/wess/wess_dev_issues/dsp_policy_01.pdf
WorkpointToday, ประเทศไทยกับความหลากหลายของคำว่าความเหลื่อมล้ำ, อ้างอิงจาก https://workpointtoday.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5/#:~:text=%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%20%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD,%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%20%E0%B9%83%E0%B8%99
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :