การเงิน

“จิตวิทยาทางการเงิน” เมื่อเงินเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมากกว่าแค่ตัวเลข

“จิตวิทยาทางการเงิน” เมื่อเงินเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมากกว่าแค่ตัวเลข

“จิตวิทยาทางการเงิน” เมื่อเงินเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมากกว่าแค่ตัวเลข

 

การเงินส่วนบุคคลนั้น เป็นมากกว่ารายได้และรายจ่าย แต่รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้เงินของเรา ซึ่งเกิดจากจากอารมณ์ค่านิยมและความปรารถนา สิ่งนี้เรียกว่า “จิตวิทยาการใช้จ่าย” เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเงินของเรา การใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสิ่งของ ทั้งที่จับต้องได้และไม่ได้มักให้ความรู้สึกพึงพอใจ และแสดงออกถึงการควบคุมได้ทันที เราอาจใช้จ่ายเพื่อเติมเต็มช่องว่างบางอย่างในชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ตัวเองรู้สึกพึงพอใจ หรือเพื่อความรู้สึก “ดีกว่า” ผู้อื่น รวมทั้งอาจเป็นเหตุผลอื่น ๆ ที่ถูกขับเคลื่อนไปด้วยอารมณ์

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้คนส่วนใหญ่นั้นยังติดอยู่กับการพยายามเพิ่มความสุข สถานะทางสังคม หรืออิทธิพลตัวตน ในขณะที่ตรงกันข้ามนั้น การพยายามออมเงินถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้เติมเต็มทางความรู้สึกในทันที จึงทำให้ผู้คนมักจะนึกถึงเป็นลำดับท้าย ๆ

 

ปัญหาสุขภาพจิตและเงินมักเชื่อมโยงกัน เพราะเมื่อผู้คนรู้สึกไม่ปลอดภัยทางการเงิน ซึ่งอาจเกิดจากรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้คนก็จะแสดงออกผ่านความวิตกกังวล และก่อให้เกิดความเครียด ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการตัดสินใจเรื่องอื่น ๆ ที่อาจลดน้อยถอยลงไปด้วย โดยมีข้อสันนิษฐานว่า เมื่อบุคคลได้รับการเพิ่มระดับรายได้ พวกเขามักจะมีความกังวลน้อยเกี่ยวกับการเงินน้อยลงทำให้การตัดสินใจด้านอื่น ๆ ดีขึ้น

 

สิ่งที่นักจิตวิทยาตระหนัก คือการรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับความมั่งคั่งของพวกเขาเป็นสิ่งสําคัญ ที่จะช่วยทํานายพฤติกรรมการใช้จ่ายและความเครียดได้ การรับรู้ความมั่งคั่งตามวิสัยของบุคคลคือสถานการณ์ทางการเงินของบุคคลเมื่อเทียบกับเกณฑ์สัมพัทธ์อื่น ๆ

เช่น รายได้ของตนเองกับรายได้ของคนรอบข้าง ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจรู้สึกดีกับการมีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน แต่เมื่อพวกเขาพบว่าเพื่อนร่วมงานมีรายได้สูงถึง 100,000 บาทต่อเดือน พวกเขาก็อาจจะเริ่มรู้สึกเครียดและวิตกกังวลในทันที นั่นเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ

 

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่เราจะมีพฤติกรรมเปรียบเทียบในลักษณะนี้ เมื่อเรารู้สึกว่าเราทำได้ไม่ดีทางการเงิน เรามักจะรู้สึกแย่ซึ่งเกิดจากความรู้สึกขาดการควบคุม หนึ่งในขั้นตอนแรกที่นักจิตวิทยาสามารถทำได้ ในการแก้ไขพฤติกรรมเหล่านี้ ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการวางแผนจัดการรายได้และค่าใช้จ่ายที่อาจมี

 

รายละเอียดยิบย่อย และแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ตามวิธีการของนักการเงินนั้น คือการช่วยอธิบายให้ผู้คนเข้าใจว่า พวกเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปัจจัยรอบตัว กำลังเพิ่มขีดความสามารถไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่เป็นไรเลย หากพวกเขาจะกําลังดิ้นรนอย่างยากลำบากกับสถานการณ์นี้ เพราะปัจจัยภายนอกนั้นเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้

 

การตระหนักรู้วิธีการทำงานของจิตใจในตนเอง จึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือของการควบคุมอย่างนึง ที่จะช่วยให้คุณสามารถกำหนดความคิดและเป้าหมายทางการเงิน และนั่นสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณได้อย่างแท้จริง เพราะความสำเร็จทางการเงินไม่ได้เกี่ยวกับความรู้ ระดับไอคิว หรืออยู่ที่ว่าคุณเก่งคณิตศาสตร์แค่ไหนเพียงเท่านั้น แต่มันเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ดังที่ยูทูบเบอร์นักจัดรายการทางการเงินชื่อดังอย่าง Dave Ramsey เคยกล่าวไว้ว่าการเงินส่วนบุคคลนั้น 20% คือความรู้ ส่วนอีก 80% คือพฤติกรรมนั่นเอง

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

อ้างอิง
https://medium.com/@GrowthQuest/the-psychology-of-money-88855ea52779
https://www.linkedin.com/pulse/psychology-spending-money-debt-com
https://www.rivermarkcu.org/blog/savings-strategies/the-new-psychology-of-spending
https://betterworld.mit.edu/spectrum/issues/winter-1999/the-psychology-of-spending/

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน