วิทยาศาสตร์

The Theory of Hawking

The Theory of Hawking

The Theory of Hawking

 

“อย่าลืมที่จะเงยหน้ามองดวงดาวที่อยู่บนฟ้า และอย่ามัวแต่ก้มหน้ามองลงไปที่เท้า จงพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เห็น และสาเหตุที่ทำให้จักรวาลนี้มีอยู่ จงเป็นคนอยากรู้อยากเห็น แม้ว่าชีวิตนี้ดูเหมือนจะยากเย็นสักเท่าไร ยังคงมีหนทางที่คุณสามารถลงมือทำจนประสบความสำเร็จได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อย่าล้มเลิกมัน”
นี่คือคำกล่าวของศาสตราจารย์สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง นักฟิสิกส์และนักจักรวาลวิทยา ชาวอังกฤษ ผู้เป็นทั้งแรงบันดาลใจให้กับเหล่านักฟิสิกส์ในแง่ของการวิจัยทฤษฎีของหลุมดำและจักรวาล รวมแง่มุมของการต่อสู้ชีวิตจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเจ้าของงานเขียนขึ้นแท่นหนังสือขายดีอย่าง ประวัติศาสตร์ย่อของกาลเวลา

 

สตีเฟน ฮอว์คิง เกิดที่เมือง อ็อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ วันที่ 8 มกราคม 1942 เขาได้รับปริญญาเกียรตินิยมในสาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และศึกษาต่อในด้านจักรวาลวิทยา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เขาตรวจพบว่ามีอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเมื่อวัย 21 ปี แพทย์ลงความเห็นว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงแค่ 2-3 ปีเท่านั้น แต่อาการเขากลับไม่ได้ทรุดลงรวดเร็ว เขายังคงมีชีวิตอยู่กับภรรยาและลูกของเขา พร้อมกับเดินหน้าศึกษาค้นคว้าในสิ่งที่เขาหลงใหลและได้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ เขาได้ค้นพบ ปรากฎการณ์การแผ่รังสีของหลุมดำ และยังสามารถอธิบายกลไกได้อย่างสมเหตุสมผล ทำให้ทฤษฎีของเขาเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับหลุมดำและจักรวาลไปโดยสิ้นเชิง

 

สตีเฟน ฮอว์คิง เริ่มใช้ชีวิตประจำวันได้ยากลำบากขึ้นเรื่อย ๆ จากอาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการของเขาย่ำแย่จนไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เขาต้องใช้ชีวิตอยู่บนวีลแชร์และพูดผ่านอุปกรณ์เสียงสังเคราะห์ เพราะเขานั้นแทบไม่สามารถขยับตัวได้แล้ว แม้แต่การพูดยังเป็นเรื่องยาก แต่อุปสรรคเหล่านี้กลับไม่ได้ทำเขายอมแพ้และละทิ้งสิ่งที่เขาหลงใหล เขามองความโชคร้ายในแง่ดีด้วยซ้ำ ที่ความพิการนี้ทำให้เขามีเวลาในการเสาะแสวงหาความรู้มากกว่าผู้อื่น เขายังเดินหน้าทำสิ่งที่เขารักและเชื่อมั่นต่อไป จวบจนเขาสามารถเขียนหนังสือประวัติศาสตร์การเวลาเสร็จสมบูรณ์ รวมถึงทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่ต้องใช้สมการการคำนวณต่าง ๆ ที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีการลงมือเขียนคำนวนทุกอย่างลงบนกระดาษ แต่เขาทำมันสำเร็จโดยไม่ต้องทดลองหรือคำนวนแม้แต่อย่างใด

ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่งของ สตีเฟน ฮอว์คิง เชื่อว่าจักรวาลมีวิวัฒนาการมาตามกฎเกณฑ์ที่แน่นอนชุดหนึ่ง และกฎเกณฑ์ชุดนี้จะสามารถตอบปัญหาที่ทุกคนเฝ้าครุ่นคิดจนหัวแทบแตก กับคำถามที่ว่า กำเนิดและจุดจบของจักรวาลเป็นอย่างไร หรือแม้แต่คำถามที่ทุกคนต่างสงสัยว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ แต่คำถามนี้ สตีเฟน ฮอว์คิง ได้กล่าวตามทรรศนะของเขาอย่างชัดเจนว่า พระเจ้าไม่มีอยู่จริงและชีวิตหลังความตายก็ไม่มีอยู่จริงอีกด้วย คำว่าพระเจ้าจึงเป็นแค่การกำหนดชื่อเพื่อให้เหตุผลสำหรับการมีอยู่ของสรรพสิ่งต่าง ๆ แต่สำหรับเขานั้น มันคือกฎของฟิสิกส์ ที่เขาใช้ในการอธิบายถึงเหตุผลของสิ่งต่าง ๆ ต่างจากพระเจ้าที่ผู้คนสวดอ้อนวอนกัน แม้ตัวเขานั้นจะไม่เชื่อเรื่องที่พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก แต่เขาเชื่อว่าจักรวาลและทุกชีวิตที่เกิดขึ้นแล้วล้วนมีความหมาย

 

ปัจจุบัน สตีเฟน ฮอว์คิงได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2018 อายุ 76 ปี ตลอดชีวิตของที่เขาตระเวนเดินทางไปบรรยายตามที่ต่าง ๆ นั้น เขามักจะถูกถามด้วยคำถามยาก ๆ เสมอ ไม่ว่าจะเป็น ในหลุมดำมีอะไร หรือพระเจ้ามีจริงหรือไม่ หลายครั้งสิ่งที่เขาตอบก็ไม่เป็นความจริงไปเสียหมด และยังมีอีกหลายคำถามที่แม้แต่สตีเฟน ฮอว์คิง ยังคงหาคำตอบไม่ได้และยังเป็นปริศนา เขาเคยกล่าวว่าคำถามยาก ๆ เหล่านี้ ต้องให้คนรุ่นหลังช่วยกันค้นหาคำตอบ ต้องอาศัยความมุ่งมั่นและความกล้า ความอยากรู้อยากเห็น มุ่งมั่นเอาชนะปัญหาและอุปสรรค ไม่ว่าคำถามนั้นจะใหญ่แค่ไหน ย่อมมีโอกาสที่เป็นไปได้ แม้คำตอบอาจจะผิด แต่ทำให้เห็นถึงความพยายามของมนุษย์คนหนึ่ง ทุกชีวิตที่เกิดมาบนโลกใบนี้ล้วนแตกต่าง แม้สิ่งที่เราประสบในอาจจะแย่หรือเลวร้ายไปบ้าง แต่ก็ยังมีบางสิ่งที่สามารถทำได้ เพียงยังมีลมหายใจ ชีวิตก็ยังคงมีความหวัง

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

รายการอ้างอิง

https://www.nature.com/articles/d41586-018-02839-9

https://www.theguardian.com/science/2018/mar/14/stephen-hawking-obituary

https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/sci-tech/news_842188

movie : The Theory of Everything

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน