สังคมศาสตร์

ทำอย่างไรจะรู้ทันข่าวปลอม

ทำอย่างไรจะรู้ทันข่าวปลอม

ทำอย่างไรจะรู้ทันข่าวปลอม

 

เฟกนิวส์ หรือข่าวปลอม ฟังดูเป็นเรื่องที่เหมือนจะไกลตัว แต่แท้จริงแล้วใกล้ตัวกว่าที่หลาย ๆ คนคิด ไม่ว่าจะเป็นข้อความทางไลน์ที่ถูกส่งต่อมาอีกที โพสต์ที่มีคนกดไลค์กดแชร์เยอะ ๆ  หรือแม้กระทั่งข่าวที่มาจากการรายงานของสำนักข่าว ข่าวปลอมก็ยังแพร่กระจายอยู่เรื่อย ๆ  โดยที่หลายครั้งการส่งต่อข้อมูลซึ่งเป็นข่าวปลอมนี้ก็ถูกส่งไปด้วยความหวังดี

 

ในยุคที่โซเชียลมีเดียเป็นสิ่งสำคัญ ผู้คนใช้เวลามากมายในหนึ่งวันในการจ้องหน้าจอ ทุกครั้งที่ตื่นมา จะมีข้อมูลใหม่ ๆ มากมายไหลบนหน้าฟีดหรือทามไลน์ไม่มีวันหมดให้คุณได้เห็น การสื่อสารเองก็ลดการพึ่งพาการเขียนจดหมาย การใช้โทรศัพท์ที่เสียค่าโทร มาเป็นการพิมพ์แชท ส่งต่อรูป ซึ่งความรวดเร็วนี่แหละคือส่วนหนึ่งของปัญหา เพราะเราอาจต้องการแชร์หรือแบ่งปันข้อมูลที่ได้รับมาอย่างรวดเร็ว ด้วยความหวังดี จนลืมที่จะนึกไปว่า ข้อมูลที่เราได้มานั้น มันถูกต้องจริง ๆ หรือไม่

 

ข่าวปลอมนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ตั้งแต่ยุคสมัยไหนที่มีการสื่อสารของมนุษย์ แน่นอนว่าการสื่อสารต้องมีความผิดพลาด ข่าวลือและเรื่องที่หาความจริงไม่ได้เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการเข้าสังคมของมนุษย์ แต่ด้วยอัตราเร่งของเทคโนโลยี ข่าวปลอม ดูเป็นสิ่งที่มาแรงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้น

 

ถามว่าอะไรเข้าข่ายคำว่าข่าวปลอม อาจจะลองดูได้กว้าง ๆ ด้วยลักษณะดังนี้

  1. เป็นข้อมูลที่ไม่มีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อหาของข้อมูลที่ได้รับหรือส่งต่อเป็นความจริงหรือไม่
  2. เป็นข้อมูลที่ผู้กระจายข่าวไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือรู้จักในข้อมูลนั้น ๆ
  3. ข้อมูลที่มีอยู่ในมือ ไม่มีปรากฏในแหล่งข่าวอื่น ๆ
  4. อาจเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งข่าวที่ไม่จริง

 

แล้วทำไมข่าวปลอมถึงเป็นปัญหาสำคัญที่เราควรหันมาสนใจ

  1. เพราะข่าวปลอมนั้นถูกแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วมาก กระทบต่อความรู้ความเข้าใจ ความเชื่อของคนจำนวนมากในสังคม ทำให้เกิดการเข้าใจผิดและอาจมุ่งสู่โทษอื่น ๆ ที่มาจากการเข้าใจผิดนี้ได้
  2. แพลตฟอร์มออนไลน์เองก็มีการใช้อัลกอริทึ่มในการหาข้อมูลที่เหมาะสมกับความสนใจของแต่ละคน การแพร่กระจายของข่าวปลอมก็มักส่งผลกระทบต่อคนที่อ่านข้อมูลให้ความสนใจกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงเหล่านั้น ยิ่งทำให้เลยเถิด แพร่กระจาย และมีคนเชื่อเยอะมากไปกันใหญ่

 

แล้วสุดท้าย เราจะรู้ทันข่าวปลอมได้อย่างไร พูดง่าย ๆ คือการเช็คก่อนแชร์ ไม่ว่าจะแชร์ลงหน้าทามไลน์ รีทวิต การส่งข้อมูลต่อให้คนอื่น ต้องหาแหล่งข่าวหรือแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ให้ข้อมูลชัดเจน มีหลักฐานอ้างอิง เพราะอย่าลืมว่าส่วนหนึ่งของวงจรข่าวปลอมที่เป็นปัญหาอยู่นี้ เราเองก็อาจเป็นหนึ่งในตัวละครในวงจรนี้เช่นกัน

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
SpringNews, รู้ทันข่าวลวง เนื่องในวันตรวจสอบข่าวลวงโลก, อ้างอิงจาก https://www.springnews.co.th/news/822732
Techtarget.com, 10 ways to spot disinformation on social media, Retrieved from https://www.techtarget.com/whatis/feature/10-ways-to-spot-disinformation-on-social-media
Factcheck.org, How to spot fake news, Retrieved from https://www.factcheck.org/2016/11/how-to-spot-fake-news/

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน