ทัศนคติ

ออฟฟิศซินโดรมสัมพันธ์กับความเครียดอย่างไร

ออฟฟิศซินโดรมสัมพันธ์กับความเครียดอย่างไร

ออฟฟิศซินโดรมสัมพันธ์กับความเครียดอย่างไร

 

ฟังดูคล้ายกับเรื่องตลกร้ายเหมือนกันที่ร่างกายมนุษย์ซึ่งออกแบบมาให้มีการเคลื่อนไหว ยืดขยับ เป็นบริบททางกายภาพที่ต้องนำไปสวมเข้ากับยุคสมัยที่ใครก็ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ วันละหลายชั่วโมง กลายเป็นว่าการบ่นปวดเมื่อยร่างกายกลายเป็นเรื่องปกติของมนุษย์วัยทำงาน ออฟฟิศซินโดรมกลายเป็นคำที่ใคร ๆ ก็พูด แต่ความรู้สึกปวดเมื่อยที่เราปล่อยให้เรื้อรัง และความเครียดที่ยากจะหลีกเลี่ยง กลายมาเป็นชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่

 

ลงทุนศาสตร์ชวนอ่านทำความเข้าใจว่าออฟฟิศซินโดรมคืออะไร สัมพันธ์กับความเครียดอย่างไร และตัวเราเองจะสามารถดูแลร่างกายและจิตใจของเราอย่างไรได้บ้าง

 

คำว่าออฟฟิศซินโดรม นั้นมีความหมายตรงตัว อาการของมันจะเริ่มต้นด้วยความรู้สึกปวดเมื่อย คอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง ซึ่งหลาย ๆ คนก็พยายามรักษาอาการเหล่านี้โดยการไปนวด ซึ่งช่วยในการยืดคลายเส้น กระตุ้นเลือดลม แต่ถ้าปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมยังอยู่กับเรา ไม่นาน อาการเหล่านั้นก็จะกลับมาเป็นได้อีก สุดท้ายแล้วหากละเลยทิ้งไว้นาน ก็จะป่วยเรื้อรังมากขึ้น ยิ่งถ้าเครียดมาก ก็อาจลุกลามให้เป็นโรคไมโกรน หรือโรคทางใจอื่น ๆ ได้อีก

 

ใคร ๆ ก็รู้ว่า จะหลีกเลี่ยงออฟฟิศซินโดรมได้ ต้องลุกขึ้นมาขยับบ้าง เดินไปเดินท่า ทำท่ากายบริหาร จัดการนั่งให้ดี เว้นช่วงพัก คำพูดเหล่านี้เป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็รู้ บ้างก็ทำได้บ้างก็ทำไม่ได้ แต่สิ่งที่ควบคุมยากกว่าการลุกนั่งปรับท่านอน คือการจัดการกับความเครียด ซึ่งเป็นเรื่องลึกซึ้งละเอียดอ่อนมากไปกว่าปัจจัยทางการภาย

 

เมื่อผนวกรวมการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไปกับความรู้สึกขมวดเกร็ง จ้องหน้าจอ จริงจังและเครียด เหล่านี้ก็ทำให้เราเกร็งกล้ามเนื้อไปโดยไม่รู้ตัวได้อีก จากที่เคยปวดตึงบางจุด นวดแล้วหาย กลายเป็นว่าร่างกายอ่อนแอ กล้ามเนื้ออ่อนแอ และจิตใจเองก็อ่อนแอ เหนื่อย และหมดแรง

 

โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้แนะนำวิธีการเบื้องต้น ที่สามารถปรับใช้ได้ทั้งเวลาที่ต้อง Work From Home หรือ Work From Office ไว้ดังนี้

  • ปรับโต๊ะทำงานและสภาพแวดล้อม ให้มีแสงสว่างเพียงพอ จอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับสายตาหรือต่ำกว่าเล็กน้อย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ พักผ่อนในที่นี้ไม่ใช่แค่การพักผ่อนร่างกาย แต่เป็นการพักจิตใจ แยกเวลางานออกจากเวลาพัก หรือพยายามจัดการบริหารความเครียดจริงจังให้ไม่เป็นพิษต่อใจมากนัก
  • ทำท่ายืดหดช่วยกล้ามเนื้อให้คลายลง เพราะหนึ่งในตัวการที่ทำให้กล้ามเนื้อขมวดเกร็ง คือการจดจ่อ ทำงานเอาจริงเอาจังและหักโหม การดูแลร่างกายก็เป็นการคลายช่วงเวลาเครียดทางจิตใจไปได้เช่นกัน

 

สุดท้ายแล้ว ทั้งออฟฟิศซินโดรมซึ่งเป็นอาการทางกาย หรือความเครียด เหนื่อยล้า burn out ซึ่งสัมพันธ์กับจิตใจ ก็สำคัญและสอดคล้องไปด้วยกัน ดังนั้น การดูแลตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรหลีกเลี่ยง

 

ลองถามตัวเองว่าวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตรงไหน และเคร่งเครียดกับเรื่องอะไร อย่างน้อย เราจะได้เลิกละเลย และหาทางอยู่กับมันอย่างมีสุขภาวะที่ดี

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , และ WEBSITE

 

อ้างอิง
BangkokHospital, Work From Home แบบไหน ห่างไกล Office Syndrome, อ้างอิงจาก https://www.bangkokhospital.com/content/work-from-home-and-office-syndrome
Praram9Hospital, ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) อาการเรื้อรังที่ต้องรีบรักษาก่อนจะบานปลาย, อ้างอิงจาก https://www.praram9.com/officesyndrome/
WorldMedicalHospital, สู้ความเครียดจากโควิด ด้วย 5 ทริค พิชิตออฟฟิศซินโดรม, อ้างอิงจาก https://theworldmedicalcenter.com/th/new_site/health_article/detail/?page=%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2-5-%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%84-%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน