การลงทุน

เพราะนักลงทุนคิดว่าตัวเองฉลาดกว่าตลาด

เพราะนักลงทุนคิดว่าตัวเองฉลาดกว่าตลาด

เพราะนักลงทุนคิดว่าตัวเองฉลาดกว่าตลาด

 

เมื่อพูดถึงการลงทุน มันไม่ใช่แค่เกมแห่งการแข่งขันด้วยไหวพริบ ความคิด หลายคนก็เล่นเกมนี้ด้วยความรู้สึกเช่นกัน รู้สึกเเย่เมื่อเสีย รู้สึกดีเมื่อได้ บทความชิ้นนี้ จะนำเสนอหลักการทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งให้คุณได้รู้จัก เป็นจิตวิทยาที่ว่าด้วยความมั่นใจที่มากเกินจริง ความคิดของนักลงทุนที่คิดว่าตัวเองฉลาดกว่าตลาด ซึ่งเรียกว่า Overconfidence Bias บทความชิ้นนี้จะลองพาคุณมารู้จักกับพฤติกรรมนี้ และเสนอทางหลีกเลี่ยงให้เช่นกัน

 

คนส่วนใหญ่มันประเมินศักยภาพและทักษะของตนเอง มากเกินกว่าทักษะหรือความสามารถที่มีอยู่จริง โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ปัญหาสำคัญของการมั่นใจในตนเองเกินจริงคือ ความมั่นใจที่มีอยู่สูงลิบก่อให้เกิดการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงสูง สิ่งนี้เป็นเรื่องที่นักจิตวิทยาพฤติกรรมเรียกว่า Overconfidence bias

 

ความมั่นใจในการตัดสินใจของตนเองที่ล้นเกินมีสองรูปแบบ ได้แก่
1. ความเชื่อมั่นว่าผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด ถูกต้อง ไม่มีอะไรด่างพล้อย นักลงทุนเหล่านี้มักจะคิดว่าตนเองมองการไกลกว่าคนอื่น และมักหวังการประสบความสำเร็จได้เงินอย่างรวดเร็ว เช่น นักลงทุนได้รับข้อมูลมา ที่ว่ากันว่าเป็นข้อมูลลับ เกี่ยวกับการลงทุนใหญ่ในประเทศ นักลงทุนคนนั้นจะปักใจเชื่ออย่างชัดเจน และรีบซื้อหุ้นที่จะได้รับผลกระทบ ด้วยความเชื่อที่ว่า นี่คือข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด
2. อีกประเภทคือ การมั่นใจในตัวเองในการประเมิน หรือคาดเดา สิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ข้อมูลที่แคบมาก ๆ มาวัด และใช้ในการตัดสินใจ เช่น GDP ของสหรัฐอเมริกาปีหน้า ว่าอาจลบ 2-3% แต่ตัวนักลงทุนเดาไปแล้วว่า GDP อาจลดลงถึง 10% เช่นนี้ก็จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด และเสียเงิน

 

ความมั่นใจเกินไปในด้านการเงินนี้นำพานักลงทุนให้ตัดสินใจไปในทางที่ก่อให้เกิดผลลบต่อประวัติการลงทุนและประสิทธิภาพในการลงทุนเช่นกัน มากไปกว่านั้นมันอาจทำให้อาการอดทนอดกลั้นต่อความเสี่ยงที่เผชิญ มีมากกว่าปกติ ซึ่งนั่นอาจไม่ตรงกับความต้องการเดิมของผู้ลงทุนแล้ว เพียงแต่เชื่อมั่นและดันทุรัง

 

งานวิจัยค้นพบว่า เป็นเรื่องปกติที่เมื่อนักลงทุนมองประวัติการลงทุนของตนเองแล้ว มักจะคิดว่าในอนาคตมันจะไปได้ดีกว่าที่เคย ทั้งที่จริง เราควรมองตามความเป็นจริงว่า ช่วงไหนเราประสบความสำเร็จและช่วงไหนที่ความต้องการของเราไม่ได้รับการตอบสนอง

 

ตามจริง การตัดสินใจควรมีข้อมูลรองรับ นี่เป็นหนึ่งในวิธีที่จะลดความมั่นใจที่มากเกินไปของนักลงทุน ที่คิดว่าตนเองฉลาด หรือรู้ทันกว่าตลาด เป็นที่ประจักษ์ว่านักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมักเป็นผู้ลงทุนที่พยายามวิเคราะห์หาข้อมูล มองตลาดตามความเป็นจริง ไม่ใช่ใช้อารมณ์หรือความคิดว่าตนเองจะเอาชนะตลาดได้ มาเป็นตัวตัดสิน

 

ดังนั้น เราต้องรู้ทันตนเอง รู้ว่าเรากำลังมั่นใจอะไรนอกเหนือฐานความเป็นจริงหรือข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่ หาวิธี หาข้อมูล หาความรู้ ให้มากกว่าแค่การเชื่อการตัดสินใจของตัวเอง นี่ถึงจะเป็นหนทางในการหลีกเลี่ยงความมั่นใจที่คิดว่าตนเองจะเอาชนะตลาดได้ แล้วเสียเงินไปอย่างน่าเสียดาย

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง
Charles SCHWAB Asset Management, Fundamental of Behavioural Finance: Overconfidence bias, Retrieved from https://www.schwabassetmanagement.com/content/overconfidence-bias
MSG Management Study Guide, Overconfidence bias, Retrieved from https://www.managementstudyguide.com/overconfidence-bias.htm
Investopedia, 4 Behavioural biases and how to avoid them, Retrieved from https://www.investopedia.com/articles/investing/050813/4-behavioral-biases-and-how-avoid-them.asp
CNBC, Overconfidence may be getting in the way of your investing performance. Here’s how to correct that, Retrieved from https://www.cnbc.com/2021/09/09/overconfidence-may-hurt-your-investment-performance-how-to-fix-that.html

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน