VIE คืออะไร สำคัญกับหุ้นจีนอย่างไร
จับตามองการเปลี่ยนกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างบริษัทตัวแทนนอกประเทศ (Variable Interest Entities)
ก่อนที่เราจะไปเริ่มทำความรู้จักว่ากฎหมายใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนจะส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์เศรษฐกิจจีน ฮ่องกง สหรัฐ และเศรษฐกิจโลกบ้าง เราขอให้ท่านผู้อ่านทำความเข้าใจคำสองคำนี้ก่อน เพื่อปูพื้นฐานก่อนจะเริ่มคุยลงลึกกันไปมากกว่านี้เรื่องการเปลี่ยนกฎหมายที่เกิดขึ้น
ในบทความนี้เราจะพูดถึงคำศัพท์เชิงเทคนิคอยู่สองคำ ได้แก่คำว่า
- Variable Interest Entities (VIE) หมายถึงการสร้างบริษัทตัวแทนขึ้นมานอกประเทศจีน โดยบริษัทเหล่านี้จะมีสิทธิในการรับรายได้จากธุรกิจที่ทำในจีน แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของตัวบริษัทในจีน
- Initial Public Offering (IPO) หมายถึงการเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้กับบุคคลทั่วไปซึ่งจะทำให้บริษัทเปลี่ยนสถานะจากบริษัทเอกชน ไปเป็นบริษัทมหาชน
เมื่อรู้จักคำนี้แล้ว เราก็เริ่มมาคุยกันดีกว่าว่า การเปลี่ยนกฎหมายและนโยบายต่าง ๆ ในจีนเกี่ยวกับการสร้างบริษัทตัวแทนนอกประเทศ (VIE) คืออะไร มีแนวโน้มไปทิศทางไหน และอาจส่งผลให้เกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
แหล่งข่าวได้บอกกับสำนักข่าว Bloomberg ว่าทางการจีนกำลังมีแผนแบนไม่ให้บริษัทจีนเข้าทำการเสนอขายหุ้นในตลาดต่างประเทศที่ถูกจัดตั้งขึ้นผ่านระบบ การสร้างบริษัทตัวแทนนอกประเทศจีน (VIE) โดยสิ่งที่สำนักข่าว Bloomberg ได้รับข้อมูลมาคือ จีนน่าจะกำลังเป็นห่วงเรื่องของความมั่นคง กลัวว่าข้อมูลขนาดใหญ่เกี่ยวกับผู้บริโภคจะหลุดมือไปสู่ต่างชาติ อย่างไรก็ตาม กฎใหม่ที่กำลังจะออกมาจะยังอนุญาตให้บริษัทจีนเข้าทำการเสนอขายหุ้น (IPO) ในฮ่องกงได้ นี่คือเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น แม้รัฐบาลจีนจะออกมาให้การปฏิเสธ แต่บุคคลทั่วโลกยังเฝ้าจับตามอง
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายครั้งนี้จะส่งผลให้บริษัทที่จดทะเบียนในสหรัฐและฮ่องกงผ่านการสร้างบริษัทตัวแทนนอกประเทศจีน (VIE) ต้องปรับโครงสร้างความเป็นเจ้าของใหม่ แต่ตอนนี้ข้อกำหนดยังไม่ได้ออกมาชัดเจนว่าจะมีเงื่อนไขใดบ้าง โครงสร้างผู้ถือหุ้นในบริษัทเทคโนโลยีก็จะเปลี่ยนไปอีกเช่นกัน ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีเป็นตัวแปรสำคัญที่จีนมองว่าถือข้อมูลสำคัญเรื่องข้อมูลขนาดใหญ่เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งหากหลุดมือจีนไปแล้วก็จะทำให้เสียเปรียบในการแข่งขันด้านธุรกิจในตลาดโลก
บริษัทรถรายใหญ่ในประเทศจีนที่ชื่อ Didi ล่าสุดถูกทางการจีนสั่งการลบแอปพลิเคชันออกจากทุกสโตร์ของค่ายมือถือ และบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ ๆ ในเครือ Ant Group ก็ถูกทางการจีนกดดันเช่นกัน
สิ่งที่น่าจับตามองคือจีนหันมาเข้มงวดกับเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้นจีนมากขึ้นหลังจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนและสหรัฐฯ ถดถอยลงตั้งแต่ปี 2020 ทำให้บริษัทหลายแห่งหันมาใช้หลักการสร้างบริษัทตัวแทนนอกประเทศจีน (VIE) เป็นทางเลือก แต่แล้วหากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายอีกครั้งจริง ด้วยความกังวลเรื่องข้อมูลผู้บริโภคและการแข่งขันในตลาดแล้วนั้น เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งว่าบริษัทเทคโนโลยีจะปรับตัวอย่างไร และจีนจะออกนโยบายมาไม้ไหนในการควบคุมความมั่นคงของประเทศตนเอง
ลงทุนศาสตร์ – Investerest
ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE
พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์
อ้างอิง
TheStandard. จีนจ่อห้ามบริษัททำ IPO ในต่างแดน เตรียมปรับเกณฑ์อุดช่องโหว่ VIE ห่วงข้อมูลรั่วไหลกระทบความมั่นคง. 1 ธันวาคม 2564. อ้างอิงจาก https://thestandard.co/china-blocking-companies-from-doing-abroad-ipo/
กรุงเทพธุรกิจ. เมื่อจีนคุมเข้มบริษัทเทคโนโลยี กรณี Didi. 20 กรกฎาคม 2564. อ้างอิงจาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/127810
Bloomberg. China to close loophole used by Tech Firms to foreign IPOs.1 December 2021. Retrieved from https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-12-01/china-plans-to-ban-loophole-used-by-tech-firms-for-foreign-ipos?sref=CVqPBMVg
อัพเดทล่าสุดเมื่อ :