ธุรกิจ

Degree of Operating Leverage (DOL) และการคำนวณจุดที่กำไรจะก้าวกระโดด

Degree of Operating Leverage

DOL หรือ Degree of Operating Leverage เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงของกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (Earning Before Interests and Taxes; EBIT) เทียบกับการเปลี่ยนแปลงของยอดขาย (Sales)

 

ยกตัวอย่างเช่น DOL เท่ากับ 20 เท่า หมายถึง ยอดขายโต 5% กำไร EBIT โต 100%

 

ค่า DOL จึงเป็นตัวเลขที่ดีที่ใช้ในการบ่งบอกโอกาสที่จะเติบโตของกำไรอย่างมากได้ และในทางตรงกันข้ามก็บ่งบอกถึงโอกาสที่กำไรจะลดลงอย่างรุนแรงได้เช่นกัน

 

วิธีการคำนวณ DOL มีหลายวิธี ได้แก่

 

DOL = change in operating income / changes in sales

DOL = contribution margin / operating income

DOL = sales − variable costs / sales − variable costs − fixed costs

DOL = contribution margin percentage / operating margin

 

วิธีที่แนะนำคือวิธีที่ 3 ได้แก่

 

DOL = (ยอดขาย – ต้นทุนผันแปร)/(ยอดขาย – ต้นทุนผันแปร – ต้นทุนคงที่)

 

อ่านเรื่องต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่เพิ่มเติมได้ที่ ประเภทของต้นทุนและการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของกำไร

 

ยกตัวอย่างเช่น

 

บริษัทค้าปลีกหนึ่งมีต้นทุนขาย (cost of goods sold; COGS) ทั้งหมดของบริษัทเป็นต้นทุนผันแปร ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) เป็นต้นทุนคงที่ทั้งหมด ได้แก่ ค่าเช่า ค่าพนักงาน ค่าเสื่อมราคา

 

กำหนดให้

ยอดขาย 100 ล้านบาท

ต้นทุนขาย 70% เทียบเท่ากับ 70 ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 20 ล้านบาท

 

DOL = (ยอดขาย – ต้นทุนผันแปร)/(ยอดขาย – ต้นทุนผันแปร – ต้นทุนคงที่)

DOL = (100 – 70)/(100 – 70 – 20 ) = 3 เท่า

หรือแปลว่าอัตราการเติบโตของกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีจะเป็น 3 เท่าของการเติบโตของยอดขาย ณ จุดนี้

 

ปีหน้าหากรายได้เป็น 120 ล้านบาท (รายได้โต 20%) กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีของบริษัทก็จะโต 60% หรือเทียบเท่ากับ 16 ล้านบาทนั่นเอง

 

สังเกตว่า DOL จะเปลี่ยนไปทุกตำแหน่งของยอดขาย

 

ตำแหน่งที่ใกล้จุดคุ้มทุน ค่า DOL จะสูง โอกาสกำไรจะโตแรงจะมาก

ตำแหน่งที่ไกลจุดคุ้มทุน ค่า DOL จะต่ำ โอกาสกำไรจะโตแรงจะน้อย

 

อ่านวิธีการคำนวณจุดคุ้มทุนได้ที่ วิธีการคำนวณจุดคุ้มทุน

 

นักลงทุนสามารถนำวิธีคิดเรื่อง DOL ไปประยุกต์ใช้กับการลงทุนได้ หุ้นหลายตัวรายได้ไม่ต้องโตมาก กำไรก็โตมากได้ เพราะกำไรดังกล่าวอยู่ใกล้จุดคุ้มทุนนั่นเอง

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน