ธุรกิจ

Opendoor แพลตฟอร์มซื้อขายบ้านออนไลน์ ศูนย์รวมการบริการเกี่ยวกับบ้าน

Opendoor แพลตฟอร์มซื้อขายบ้านออนไลน์ ศูนย์รวมการบริการเกี่ยวกับบ้าน |

Opendoor แพลตฟอร์มซื้อขายบ้านออนไลน์ ศูนย์รวมการบริการเกี่ยวกับบ้าน ทั้งซื้อ ขาย ขอไฟแนนซ์ และบริการเสริม/เติม/แต่ง รีโนเวท ในที่เดียว

 

Opendoor เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการซื้อขายบ้านแบบออนไลน์ รวมถึงให้ริการเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวกับบ้าน อาทิ การขอไฟแนนซ์ในการซื้อบ้าน รวมถึงการเสริมเติมแต่งบ้านได้ โดยบริการที่กล่าวไว้นี้สามารถสั่งใช้งานได้ผ่านแอปพลิเคชันของบริษัทได้ในแอปเดียว

 

จุดประสงค์การมาของบริการ OpenDoor หลักๆ แล้ว มาเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องของกระบวนการซื้อขายบ้านที่ซับซ้อน ใช้เวลาในการดำเนินการ และมีค่าใช้จ่ายยิบย่อยจนอาจทำให้งบประมาณบานปลาย

 

โดยแอปพลิเคชัน Opendoor นี้เอง ที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหา ขจัดความยิ่งยากในการซื้อขายบ้านให้กระชับมากขึ้น ถึงแม้ค่าทำเนียมในการดำเนินการ หรือค่า Fee ของแอป (เรียกเก็บที่ 7%) จะเก็บมากกว่าค่าธรรมเนียมตามปกติ (เรียกเก็บราว 5.5%) แต่หากแลกกับความคุ้มค่าในเรื่องของเวลา กับการปิดการขายที่ยืดหยุ่นแล้ว แอปนี้ก็เปิดโอกาสให้แก่ผู้ใช้ที่ต้องการความสะดวกเรียบง่ายจริง ๆ

 

ซึ่งจากรูปข้างล่างนี้ ที่ทุกคนได้เห็น เราพอจะจินตนาการได้เลยครับ ว่าบริษัทเองตั้งใจที่จะมา Disrupt วงการซื้อขายบ้านผ่านนายหน้าแบบเก่า ๆ รวมถึงพยายามทำให้ตัวเองเป็นเหมือนบริษัทพี่ ๆ ที่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคแบบเดิม ๆ อย่าง Netflix , Uber และ Carvana (บริการค้าปลีกรถยนต์มือสองแบบออนไลน์)

โดยหากดูจาก Market Share แล้ว หาก Opendoor ได้เป็นผู้นำของอุตสาหกรรมนี้ได้จริง ๆ คงมี Room อีกมหาศาลเลยทีเดียว

โดยสำหรับ OPEN นี้ เป็นหุ้นที่เพิ่ง IPO เข้าตลาดมาเมื่อเดือนธันวาคม ปลายปี 2020 จึงทำให้มีงบการเงินย้อนหลังออกมาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น

ในปี 2019

บริษัทมีรายได้  4,740.58 ล้านเหรียญ

มีกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 301.25 ล้านเหรียญ (คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นที่ 6.35%)

บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 341.02 ล้านเหรียญ (ขาดทุนสุทธิ)

 

ในปี 2020

บริษัทมีรายได้  2,583.12 ล้านเหรียญ

มีกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 221.70 ล้านเหรียญ (คิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นที่ 8.58%)

บริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 286.76 ล้านเหรียญ (ขาดทุนสุทธิ)

 

[เพื่อให้สนุกต่อการอ่านงบดุลข้างล่างนี้ ผู้อ่านทุกคนลองกดลิงค์เว็บที่ใช้ดูงบ เพื่อที่จะได้เข้าใจไปด้วยกัน Income Statement – Opendoor Technologies Inc. (koyfin.com) ]

 

สำหรับสาเหตุของการขาดทุนของบริษัทนี้ มาจากฝั่งค่าใช้จ่ายจากการบริหาร หรือ SG&A เป็นจำนวนมาก เลยทำให้กำไรสุทธิจากการดำเนินงานหรือ Operating Margin ให้เป็นลบในทุก ๆ ไตรมาส

แม้ว่าบรรทัดของ SG&A จะกินบรรทัดกำไรจากการดำเนินงาน ถึงอย่างนั้นแล้ว หากเราไปดูที่งบกระแสเงินสดแล้ว เราจะพบว่ามีตัวเลขบรรทัดหนึ่งที่ว่า Stock-based compensation โดยเป็นบรรทัดของกระแสเงินสดเข้าบริษัท ซึ่งตรงส่วนนี้เป็นการให้ผลประโยชน์ตอบแทนพนักงานโดยการให้พนักงานซื้อหุ้นของบริษัทได้นั่นเอง โดยเงินสดที่พนักงานได้ซื้อมานั้น ก็มาจากค่า SG&A ที่เป็นบรรทัดที่ถูกกินมากที่สุดในหมวดของรายจ่าย

เรียกว่าเป็นการโยกบรรทัดรายจ่ายเป็นกระแสเงินสดขาเข้าแทนนั่นเอง

แต่เมื่อไปดูที่งบดุลของบริษัท กลับพบว่าสินทรัพย์ส่วนมากของบริษัทจะอยู่ในรูปของเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นเป็นส่วนมาก กับสินทรัพย์ในหมวดสินค้าคงคลัง หรือ Inventory

[Balance Sheet – Opendoor Technologies Inc. (koyfin.com)]

โดยหลังจากที่บริษัท IPO ออกมาแล้ว ส่งผลให้งบดุลของบริษัทมีความแข็งแกร่งมาก สังเกตจากฝั่งส่วนของผู้ถือหุ้น ที่มากกว่าส่วนของหนี้สิน 2-3 เท่าตัวเลยทีเดียว

แต่เมื่อเรามาดูงบกระแสเงินสดไล่ไปตามแต่ละไตรมาสแล้ว เราจะพบว่า ตอนที่บริษัทนี้ IPO เข้ามา บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ค่อนข้างน่าประทับใจ ซึ่งหลัก ๆ แล้วก็มาจากการระบายสินค้าคงคลังในมือได้นั่นเอง

 

 

โดยจากรายงาน 10-Q ก็ได้บอกให้เรารู้ ว่าความเสี่ยงเรื่องของการจัดหาเงินทุนในการบริหารอสังหาริมทรัพย์คงคลังก็เป็นเรื่องที่เราต้องกังวลอยู่เสมอ

 

สำหรับสิ่งที่เราต้องมาทำการบ้านต่อสำหรับบริษัทนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องการใช้เงินสดที่ได้จากการ IPO บริษัทได้ใช้ไปอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่ การระบายสินค้าคงคลังของบริษัทมีการบริหารจัดการที่ดีหรือเปล่า ซึ่งตรงส่วนนี้ที่เราคงต้องมาวัดกันว่า Business Model ของบริษัทจะใช้ได้หรือไม่ การหมุนสินทรัพย์ในหมวดของอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจะช่วยให้อุตสาหกรรมนี้คึกคักขึ้นหรือไม่ เพราะว่ากันตามตรงแล้วธุรกิจหมวดอสังหาริมทรัพย์เองก็ขึ้นอยู่กับรอบของเศรษฐกิจเช่นกัน แม้ ณ เวลานี้ อาจจะเป็นการซื้อที่ดูผิดที่ผิดทางสวนกระแส

แต่ ณ Valuation ที่ระดับ Free Cash Flow ราว 1,000 ล้านเหรียญ กับที่ราคา Enterprise Value ณ 8,200 ล้านเหรียญนี้ปลอดภัยไหม ก็ขึ้นอยู่กับ Circle of Competence และความเชี่ยวชาญ/ความชอบในหมวดอุตสาหกรรมแต่ละคนถนัด

รวมถึง  Platform และการบริการของแอปนี้จะสามารถอยู่ในใจของผู้บริโภคหรือไม่ สิ่งนี้ เป็นหน้าที่ของนักลงทุนอย่างเราที่จะต้องสืบเสาะเคาะหา Scuttlebutt ต่อไป

 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

ติดตามบทความดีดีกดที่นี่เลย FACEBOOK , OFFICIAL LINE และ WEBSITE

 

พิเศษ! เข้ากลุ่มเรียนหุ้นออนไลน์ฟรีกับลงทุนศาสตร์แบบไม่มีเงื่อนไขได้ที่ : เรียนหุ้นฟรีกับลงทุนศาสตร์

 

อ้างอิง

Highlights – Opendoor Technologies Inc. (koyfin.com)

Events and Presentations | Opendoor Technologies Inc.

 

อัพเดทล่าสุดเมื่อ :

เกี่ยวกับผู้เขียน

ลงทุนศาสตร์

ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนตั้งแต่เบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะลงทุนที่รักหรือมีทีท่าว่าจะรักในศาสตร์ของการลงทุนเหมือนกัน